หวย หวยออนไลน์ Jetsadabet

บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อัตราเงินเดือนพนักงานใหม่โดยเฉลี่ยแต่ละสาขาสำรวจในปี2000 (บาท)


ระดับปริญญาตรี
สาขา-ช่วงโปร-หลังเข้าทำงาน <--> ช่วงโปร(จบนอก)-หลังเข้าทำงาน(จบนอก)
บัญชี -10169-10468 <-->10970-11665
วิทยาศาสตร์ -11858-12191 <-->11521-12478
วิศวกร -13759-14111 <-->13619-14469
เภสัชกร -10847-11169 <-->10057-12273
คอมพิวเตอร์ -11631-11962 <-->12352-13202
การตลาด - 9825-10116 <-->10667-11582
สถาปนิก - 9839-10300 <-->10057-12273
สังคมศาสตร์ - 9151-9369 <--> 9852-10647
ประกันภัย - 9964-10174 <--> 9223-9607
ปริญญาโท
MBA = 16223 ; 16718 ; 17781 ; 18002
วิศวกร = 18567 ; 19365 ; 19306 ; 19852
วิทยาศาสตร์ = 16897 ; 17705 ; 17298 ; 17808
คอมพิวเตอร์ = 17533 ; 18260 ; 18082 ; 18507
จาก : GM Magazine (Aug2001) - 22/01/2002 02:22 
เนื่องจากข้อมูลข้างต้น เป็นข้อมูล ณ ปี 2001 แต่อย่างไรก็ตามอัตราดังกล่าวก็สามารถใช้อัางอิงได้โดยนำไปคิดเป็นค่าเฉลี่ยเพื่ออ้างอิงในการสมัครงาน

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณรู้หรือไม่ ผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ต้องการอะไร?

หลังจากการส่งจดหมายสมัครงานรวมทั้งประวัติต่างๆแล้ว และท่านคือหนึ่งในผู้ถูกเลือกให้ได้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ พร้อมกับผู้ถูกเลือกอีกจำนวนหนึ่ง ในสถานะของท่านถือได้ว่าท่านประสบผลสำเร็จไปแล้วมากกว่า 50% ของขั้นตอนการสมัครงาน

ดังนั้นจุดนี้เองท่านต้องหาทางทำทุกวิถีทางให้ได้มาซึ่งการยอมรับ และตัดสินใจของคณะกรรมการให้เลือกท่านเพื่อเป็นพนักงานของบริษัท แต่ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าคณะกรรมการทุกท่านต้องการ หรือมีจุดประสงค์อย่างไร ที่จะเลือกคนเข้าทำงานกับบริษัทของเขาทั้งหลาย

โดยทั่วไปผู้ผ่านการสอบข้อเขียน หรือผ่านการคัดเลือกก่อนการสัมภาษณ์มาแล้ว จะมีคุณสมบัติพื้นฐานใกล้เคียงกัน ซึ่งวัดจากการพิจารณาการสอบข้อเขียน หรือประวัติการศึกษาหรือการทำงาน แต่คุณสมบัติเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนประกอบในการคัดเลือกบุคคล ไม่ใช่ส่วนสำคัญในการตัดสินว่าคนคนนั้น เหมาะกับงานแต่อย่างใด ดังนั้นการสัมภาษณ์จึงเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า คนไหนเหมาะสมกับองค์กรณ์มากที่สุด ดังนั้นหากใครที่สามารถเตรียมตัวและทำได้ดีในขั้นตอนนี้ มักประสพผลสำเร็จเกือบทุกราย
โดยมาตราฐานของบริษัททั่วไป(ที่ไม่มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง)การสอบสัมภาษณ์ จะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลากรเพื่อเข้าทำงานดังนี้

1) ความรู้ความสามารถเรื่องงานของบุคคลนั้นๆ
2) ไหวพริบและการแก้ปัญหา
3) ทัศนะคติและบุคลิคภาพ
4) ความสามารถพิเศษ(ซึ่งแตกต่างจากผู้อื่น)ที่เอื้อประโยชนต่อองค์กร

ความรู้ความสามารถเรื่องงานของบุคคลนั้นๆ
สำหรับผู้ที่เพิ่งจบการศึกษามาใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ ให้ท่านเตรียมรายละเอียดเรื่องการทำโปรเจคท์ หรือกิจกรรมก่อนจบการศึกษาในระดับนั้นๆ ว่าท่านทำโครงการอะไร ท่านมีส่วนร่วมในขั้นตอนใด อย่างไร และโครงการมีผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร พร้อมด้วยเหตุผลประกอบ

สำหรับผู้ที่ผ่านการทำงานมาแล้วให้ท่านเตรียมความ อธิบายรายละเอียดเรื่องงานที่ท่านรับผิดชอบ ที่คิดว่าสำคัญที่สุด (สร้างมูลค่าหรือประโยชน์ให้บริษัท) ว่าท่านรับผิดชอบในโครงการนั้นๆอย่างไร ผลที่ได้เป็นอย่างไร อาจอธิบายถึงการหลักการ P-D-C-A โครงการ (ทำให้ดูเหมือนเป็นนักวางแผน)

ไหวพริบและการแก้ปัญหา
ประเด็นไหวพริบนี้ค่อนข้างยากสำหรับคนบางคนและบางตำแหน่ง แต่ก็ง่ายสำหรับคนบางคนบางตำแหน่งเพราะไหวพริบของคนเราไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละคน แต่สามารถฝึกได้ โดยการหาความรู้จากการอ่านหนังสือ บทความดูทีวี พูดคุยกับผู้ที่มีความรู้ ความเห็นที่แตกต่าง จับประเด็นของเนื้อหา ฝึกเป็นคนช่างสังเกตุและหาข้อมูล หากทำได้ระดับนี้ ท่านจะกลายเป็นคนที่มีไหวพริบดีไปเองอย่างอัติโนมัติ

ในเรื่องการแก้ปัญหาการทำงาน ท่านต้องลองฝึกสร้างสมมุติฐานสถานะการณ์ของงานที่ท่านเคยทำว่า หากเกิดปัญหาในงานนั้นๆแล้วท่านจะแก้ไขอย่างไร(ลองคิดเป็นลำดับ 1,2,3,4)  อาจลองนำประเด็นที่สมมุติไปสนทนากับผู้รู้ เพื่อนร่วมงาน ระดมสมอง เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถตอบคำถาม ของผู้สัมภาษณ์ทั้งหมดหรือบางส่วนได้

ทัศนะคติและบุคลิคภาพ
ทัศนะคติจะเป็นคำถามที่ ท่านต้องอธิบายว่า ท่านคิดอย่างไรต่อเรื่องราวนั้นๆแต่โดยส่วนมากผู้สัมภาษณ์ อยากได้คำตอบเชิงสร้างสรรค์หรือเชิงบวก ดังนั้นท่านต้องฝึกหรือปรับวิธิการคิดและการอธิบาย ให้เป็นการมองโลกในแง่ดี อย่างน้อยก็น่าจะดีกับองค์กรของเขา

บุคคลิกภาพท่านต้องสำรวจตัวเองว่าบุคลิกในปัจจุบันนี้ เหมาะกับตำแหน่งที่ท่านสมัครหรือไม่ เช่น ท่านสมัครตำแหน่ง Engineer บุคลิกของท่านต้องมีความมั่นใจในตัวเอง มีเหตุผล พูดจาชัดเจน รอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียนมา หรือเกี่ยวข้อง แต่งกายเหมาะสม หากท่านสมัครตำแหน่งผู้จัดการบุคลิกท่านต้องมีความเป็นผู้นำ มีความมั่นใจ มีเหตุผล พูดจาชัดเจน ชอบวางแผน และการจัดการ รู้กว้าง แต่งกายเหมาะสมกับตำแหน่ง

ความสามารถพิเศษ(ซึ่งแตกต่างจากผู้อื่น)ที่เอื้อประโยชนต่อองค์กร
ข้อนี้สำคัญและเป็นจุดเปลี่ยนของการสัมภาษณ์งานและถือไดว่าเป็นประเด็นที่ผู้สัมภาษณ์ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ กรณีที่ผู้สอบสัมภาษณ์มีคุณสมบัติ 3 ประเด็นเหมือนกัน การเห็นคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจึงเป็นตัวช่วยเสริมการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี

ที่นี้มาดูว่าความสามารถพิเศษที่เค้าต้องการกันมันมีอะไรบ้าง
- ความสามารถทางด้านภาษา ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรมัน จีน หรืออื่นๆ แต่ที่แนะนำให้เตรียมตัวคือ ภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นภาษาสากล เพราะสุดท้ายแล้วหากการสื่อสารโดยภาษาอื่นๆเกิดปัญหา ก็จะมาจบกันที่ ภาษาอังกฤษนี่เอง ยิ่งท่านสมัครงานในตำแหน่งตั้งแต่ วิศวกรขึ้นไป วิธีง่ายๆในการเตรียมตัวคือ เรียนการสนทนาระยะสั้นแบบเร่งรัด ฝึกอ่านบทความภาษาอังกฤษ ดูทีวีช่องต่างประเทศหรือช่องภาคถาษาอังกฤษ ฝึกพูดสนทนาด้วยตัวเอง และท่านอาจต้องฝึกการแนะนำตนเองเป็นภาษาอังกฤษให้ดูเป็นธรรมชาติ(เหมือนการสนทนาแบบปกติ)

- ความสามารถทางด้านกิจกรรม กีฬาหรือคนตรี จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากกิจกรรม กีฬาหรือดนตรีที่ท่านชอบตรงกับกิจกรรมที่บริษัทส่งเสริมอยู่ ดังนั้นท่านควรสำรวจดูว่า บริษัทที่ท่านสมัครส่งเสริมกิจกรรมอะไรอยู่ ท่านก็ควรเตรียมบทสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆไว้

อย่างไรก็ตามทุกประเด็นที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ จะไม่มีความหมายสำหรับท่าน หากท่านไม่มีการเตรียมตัวที่ดีกับประเด็นต่างๆ ท่านต้องฝึกฝนทั้งทักษะการพูด การฟัง ภาษา หรือแม้กระทั่งการเจรจาต่อรองในกรณีที่จำเป็นเกี่ยวกับรายได้

ทั้งหมดเหล่านี้หากท่านทำได้รับประกันได้กว่า 90% ท่านถูกเลือกเป็นผู้ร่วมงานของบริษัทเหล่านั้นแน่นอน
ขอให้โชคดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณรู้มั๊ยว่าวัฒนธรรมการทำงาน(กับการหางาน)ของคนไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร?

ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าในเมืองไทยเรานั้น การหางาน การสมัครงาน และการสัมภาษณ์งาน เป็นรื่องปกติเพราะ วัฒนธรรมการทำงานของคนไทยโดยส่วนใหญ่ พิจารณา จากรายได้เป็นหลัก(บางท่านอาจไม่ได้คิดแบบนี้แต่ชนชั้นกลางถึงล่างส่วนใหญ่เป็นแบบนี้) พอทำงานไปซักพักรู้สึกเบื่อไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากปัญหาส่วนตัว หรือปัญหางาน ก็จะเริ่มมองหางานใหม่ ต้องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ พร้อมด้วยรายได้ที่สูงขึ้นจากเดิม โดยบางครั้งอาจไม่ได้คิดเลยว่าความสามารถของตัวเองอยู่ในระดับไหน บางครั้งเห็นเพื่อนได้มากเท่านั้นเท่านี้ก็จะเอาเท่ากัน ทั้งๆที่แต่ละคนนั้นมีความสามารถไม่เท่ากัน แล้ววัฏจักร การหางานของคนไทยก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

เราจะสังเกตได้จาก กลุ่มธุรกิจ นายหน้าจัดหางาน Head Hunting Recruitment ในไทยเติบโตเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นแล้ว แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพราะ อัตราการเปลี่ยนงานของเขาต่ำมากเนื่องด่้วยวัฒนธรรมและและสังคมที่นั่น ไม่ค่อยจะยอมรับกับการเปลี่ยนงานเพราะคนญี่ปุ่นเวลาเข้าทำงาน บริษัทจะรับเข้าตั้งแต่จบมหาวิทยาลัย แล้วอยู่ไปยันเกษียณ หากย้ายงานคนนั้นจะถูกสังคมตราหน้าว่า เป็นคนไม่ซื่อสัตย์กับองค์กรหรืออาจเป็นบุคคลที่มีปัญหากับองค์กร และในส่วนการเข้าทำงานกับบริษัทใหม่นั้น โดยปกติอัตราเงินเดือนที่ได้รับนั้นจะน้อยกว่าที่เดิมที่ลาออกมา ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณเหมือนเพิ่งมาเริ่มงานใหม่(เหมือนเด็กจบใหม่) เพราะที่ญี่ปุ่นเป็นเมืองอุตสาหกรรมมายาวนานมาก บางบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมเฉพาะก่อตั้งตั้งแต่สมัยสงครามโลก ดังนั้นคนบางคนที่อยู่ก่อนแล้วย่อมมีประสบการณ์กับงานนั้นๆเป็นอย่างดี ซึ่งบริษัทจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนที่ถึงแม้จะมีประสบการณ์มากๆมาจากที่อื่น ถึงแม้จะอายุงานยาวนานเท่ากัน ย่อมด้อยกว่าในเรื่องของประสบการณ์ตรง จึงเป็นที่มาของรายได้ที่ต้องต่ำลงหรือเสมือนกับคนเพิ่งเข้าทำงาน นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงทำให้คนญี่ปุ่นถ้าไม่จำเป็นจริงๆจะไม่เปลี่ยนงานเป็นอันขาด ทั้งยังส่งผลให้ธุรกิจ การสรรหางาน Head Hunting หรือ Recruitment ไม่แพร่หลายเหมือนอย่างประเทศไทย

ในส่วนวัฒนธรรมการทำงานของ แถบประเทศยุโรปและอเมริกา ก็จะคล้ายกับของประเทศไทย แต่แตกต่างกันตรงความสามารถเฉพาะตัวและความเป็นผู้นำของคนแถบนั้นจะสูงมาก จึงเป็นที่มาของรายได้ที่สูงเมื่อคนเหล่านั้นเปลี่ยนงานไปบริษัทใหม่ แต่ก็ยังมีข้อแม้ว่าคุณต้องแสดงผลงานของคุณให้ชัดเจนสมกับรายได้นะ ไม่เช่นนั้นเค้าก็จะสามารถเชิญคุณออกได้ทันทีเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมการสมัครงาน การเปลี่ยนงาน หรือแม้กระทั่งการทำงานของไทยเรานั้นจะเป็นแบบผสมผสานระหว่างเอเชีย(ญี่ปุ่น) กับ อเมริกาและยุโรป ซึ่งก็น่าจะเหมาะกับบ้านเราดี ทั้งนี้ แต่ละท่านก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานและตัวบริษัทที่ท่านไปสมัครกันเองนะครับ
ขอให้โชคดีกันทุกท่าน

สมัครงานอย่างไร หากคุณสมบัติสูงเกินไป

สมัครงานผู้หางานที่มีดีกรีสูง ประสบการณ์ยาวเป็นหางว่าวอาจคิดไม่ถึงว่าจะประสบปัญหาการหางาน ไม่ต่างจากนักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ แต่ปัญหาของคนสองกลุ่มนี้มีสิ่งที่สลับขั้วกันอยู่นั่นคือ นักศึกษาจบใหม่นั้น คุณสมบัติยังต่ำกว่ามาตรฐานที่นายจ้างต้องการ ในทางกลับกัน ผู้หางานบางคนกับมีคุณสมบัติที่สูงกว่ามาตรฐานที่นายจ้างต้องการ จึงเป็นสาเหตุให้หางานทำไม่ได้เสียที
มาดูกันว่าเหตุใดนายจ้างจึงไม่สนใจคนที่มีคุณสมบัติสูงมาร่วมงาน ทั้งที่บริษัทควรจะดีใจที่มีคนเก่ง ๆ มีความสามารถสูงสมัครงานเข้ามา
เรื่องเงินเรื่องใหญ่
ผู้หางานบางคนอาจยอมลดเงินเดือนตัวเอง เพื่อให้ได้งานในภาวะเศรษฐกิจขาลง แต่นายจ้างกลัวว่า ผู้หางานเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะลาออก เมื่อพวกเขาได้งานใหม่ที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ในเมื่อพวกเขามีความสามารถสูง พวกเขาย่อมต้องการค่าตอบแทน และตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับความสามารถของพวกเขาเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต
เรื่องของความเหมาะสม
ผู้หางานมักคิดว่า เมื่อนายจ้างกำหนดคุณสมบัติที่ต้องการไว้แล้ว และพวกเขาพบว่า ตนเองมีคุณสมบัติเหนือกว่าในทุก ๆ ด้าน ย่อมมีโอกาสที่ได้จะรับการคัดเลือกมากกว่าคนอื่น ๆ อย่างไรก็ดีในเกณฑ์ของนายจ้าง มีคำถามที่นายจ้างใช้ถามตัวเองเวลาคัดเลือกพนักงาน ซึ่งก็คือ “ความต้องการ ความสนใจ และคุณค่าในตัวผู้สมัครคนนี้ เหมาะกับงานในตำแหน่งนี้หรือไม่” “เขาเหมาะกับโครงสร้างและวัฒนธรรมขององค์กรหรือไม่”
แม้ว่าผู้สมัครจะมีความสามารถ และทักษะดีเยี่ยมที่จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้ แต่นายจ้างอาจพิจารณาจากความเหมาะสมดังกล่าวข้างต้น จึงตัดสินใจไม่รับพวกเขาเข้าทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเปลี่ยนงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อทราบถึงข้อกังวลของนายจ้างเช่นนี้แล้ว ผู้หางานจะต้องทำอย่างไร
สร้างความมั่นใจให้นายจ้าง
เมื่อคุณได้มีโอกาสสัมภาษณ์งาน คุณควรสร้างความมั่นใจให้นายจ้างว่า ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติสูงนั้นสามารถเป็นมือขวาให้กับนายจ้าง ซึ่งจะช่วยผลักดันให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปฎิเสธผู้สมัครที่มีความสามารถ เป็นการปิดกั้นโอกาสที่องค์กรจะได้พนักงานที่ฝืมือดีเข้ามาร่วมงาน รวมถึงปิดกั้นโอกาสที่องค์กรจะเติบโตก้าวหน้าด้วย
จัดการกับประวัติการทำงานของคุณ การสร้างประวัติการทำงานแต่ละฉบับนั้นต้องสอดคล้องกับคุณสมบัติที่นายจ้าง แต่ละแห่งต้องการมากที่สุด ซึ่งจะทำให้นายจ้างทุกคนสนใจในตัวคุณ โดยคุณอาจต้องปรับข้อมูลในประเด็นต่อไปนี้
  • เปลี่ยนเป้าหมาย โดยอาจลดตำแหน่งจาก “ผู้จัดการ” เป็น “หัวหน้าทีม” ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติที่นายจ้างต้องการ
  • แสดง ประวัติการทำงานให้สั้นกระชับ อาจแสดงเพียงงานที่ทำล่าสุด โดยไม่ระบุปี หากคุณเห็นว่า การระบุปีนั้นทำให้คุณดูมีประสบการณ์ที่ยาวนานเกินไป
  • เปลี่ยน ชื่อตำแหน่งหากฟังดูสูงส่งเกินไป เช่น เรียกตัวเองเป็นผู้จัดการ แทนที่จะเรียกว่ารองประธานในบริษัทที่มีพนักงานเพียงไม่ถีง 10 คน
  • ไม่ระบุคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น ประวัติการฝึกอบรม และทักษะความรู้ชั้นสูงที่คุณมีเพิ่มเติม
หากผู้หางานมีความตั้งใจจริงที่จะทำงานอย่างเต็มที่แล้วล่ะก็ ไม่ว่าตำแหน่งงานจะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่สำคัญ เพราะความสามารถและการพิสูจน์ตัวเองจะทำให้ผู้หางาน เติบโตก้าวหน้าในอาชีพได้ แม้จะเริ่มต้นจากตำแหน่งเล็ก ๆ ก็ตาม
ที่มา:  http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/js-june10-3.htm?ID=1832

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เขียน Resume กรณีมีประสบการณ์

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน เป็นอย่างไรบ้างครับ หลังจากติดตามคอลัมน์ของเราหลายตอนแล้ว ท่านได้รับความรู้อะไรเพิ่มเติมบ้างครับ เมื่อเข้าชม Website ของเราแล้วก็อย่าลืมติชมมาบ้างนะครับ


  • เอาละครับในตอนนี้ผมจะขอยกตัวอย่าง รูปแบบของประวัติย่อ (Resume) ในแบบที่ 1 มาให้ดูเป็นตัวอย่างเลยนะครับ แต่ก่อนอื่นก็ต้องขอบอกเสียก่อนนะครับว่า ตัวอย่างประวัติย่อในแบบที่ 1 นั้น โดยมากใช้ในกรณีที่ผู้สมัครมีประสบการณ์มาก่อน และรู้ตำแหน่งแน่นอนว่า ตนสมัครในตำแหน่งใด ดังนี้
    ตัวอย่างประวัติย่อที่ 1

    รูปถ่ายของคุณ
    THANAPOL CHADCHAIDEE
    50/100 Ramkhamhaeng Road
    Bangkapi, Bangkok 10240
    Telephone : 3735135

    Position sought : Accountant
    Education : 1985-1989 Thammasat University, Bachelor Degree (Accounting), Relevant
    Courses : Financial Accounting, Accounting for Planning and Control, Financial Statement Analysis, Auditing, Business Tax Law, Introduction to Computers.
    Experience : 1989 Assistant Auditor, Chaiyong Kehakit Co., Ltd. Present Kaelai, Nonthaburi Province.
    Special Qualifications : Good command of spoken and written English

    Personal : Age - 26


    Marital Status - Single


    Activities - Swimming, Sewing and Knitting.

    References : Asst. Prof. Thirawit Boonmak, Dean of the Faculty of Commerce and Accountancy,Thammasat University. Mr Chaiyong Plaimee, Managing Director, Chaiyong Kehakit Co.,Ltd. Kaelai, Nonthaburi Province. Tel.5802808.

  • อนึ่งคำว่า Position sought นั้นอาจจะใช้คำว่า Position applied for : ก็ได้ ครับแล้วผมก็ขอจบตอนที่ 16 เพียงเท่านี้ก่อนครับ คอยพบกันตอนต่อไป นะครับสวัสดีครับ 

  • ที่มา : http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=62

  • ประวัติย่อสำหรับเด็กจบใหม่

    ในการสมัครงาน ตำแหน่งเดียวกัน องค์กรเดียวกัน ของคนแต่ละคนไม่ได้หมายความว่า จะต้องใช้รูปแบบ การเขียนประวัติย่อ ในการสมัครงาน ของคนทุกคนจะเหมือนกัน แต่จำเป็นต้องเขียนใบสมัคร ให้เหมาะกับสถานะ ของตัวเอง

    พูดง่ายๆ ก็คือ คนมีประสบการณ์ ต้องเขียนใบสมัคร ของคนมีประสบการณ์ ส่วนเด็กจบใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ทำงานมาก่อน ก็ต้องใช้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะสมกว่า สำหรับในตอนที่แล้ว ผมได้ยกตัวอย่างประวัติย่อในแบบที่ 1 ซึ่งเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีประสบการณ์ไปแล้ว มาคราวนี้เรามาดูประวัติย่อในแบบที่ 2 กันเลยครับ ตัวอย่างประวัติย่อที่ 2
    RESUME THANAPOL CHADCHAIDEE
    50/22 Sukhaphiban 3 Road
    Bangkok 10240
    Telephone 3735135

    CAREER OBJECTIVE : To design and implement programmed in broadcast journalism and to use my skills in communications to develop innovative television and radio dialogue.
    EXPERIENCE :
    COMMUNICATIONS- Helped edit university's magazine for one year.
    LEADERSHIP- Coordinated a fund-raising drive for an audio-visual club.
    BROADCAST JOURNALISM- Designed an educational programmed for children. Received award from the University Council.
    EDUCATION : Bachelor of Arts, 19 ........... University
    Major : Mass Communications
    Minor : Audio Visual
    PERSONAL
    INFORMATION : Birth date : 26 December 1956.
    Marital Status : Single
    Health : Excellent
    Interest : Reading, Stamp-collecting
    OTHER
    QUALIFICATIONS : Ability to type both Thai and English at 50 wpm. and 60 wpm. respectively.
    REFERENCES : Full references will be supplied on request.
    อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวอย่างประวัติย่อในแบบที่ 2 นี้ โดยมากใช้กับ ผู้ที่เพิ่งเรียนจบมาใหม่ๆ และส่งจดหมายสมัครงาน ไปยังหน่วยงาน ที่ไม่ได้ประกาศรับ และตัวผู้สมัครเอง ก็ยังไม่ทราบว่า มีตำแหน่งงานใดว่างบ้าง เพียงแต่ระบุสายงาน ที่ตนต้องการทำไว้กว้างๆ เท่านั้น
    ครับ และผมก็ขอเรียนให้ทราบว่า ในตอนต่อไปนั้น เราจะเข้าเรื่องใหม่แล้วนะครับ นั่นก็คือ "เรื่องการสอบสัมภาษณ์งาน พร้อมทั้งเทคนิคต่างๆ" ขอให้ท่านผู้ที่เข้าชม Website ของเรา ติดตามกันต่อไปนะครับ สวัสดีครับ
    ที่มา:http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=64

    Application Letter

    ตอนที่แล้วผมได้พูดถึงเรื่องการอ่านโฆษณางานให้เข้าใจ และเมื่อทราบแนวทาง ในการสมัครงานแล้ว ว่าเป็นแบบ Apply in person (สมัครด้วยตนเอง) หรือ Interested persons please send application letter (ผู้สนใจโปรดส่งจดหมายสมัครงาน) ในกรณีที่สมัครงาน โดยวิธีส่งจดหมายสมัครงานนั้น ก่อนอื่นผู้สมัครงาน จะต้องทราบเสียก่อนว่า ก่อนเขียนจดหมายสมัครงาน ตนเองควรทำอะไรก่อน ซึ่งก็พอสรุปออกมาได้ดังนี้


  • ร่างข้อความที่จะเขียนขึ้นมาคร่าวๆ ก่อน เพื่อว่าเมื่อเขียนออกมาแล้ว จดหมายของเราจะดูเด่นกว่าของผู้อื่น

  • ใส่เฉพาะข้อมูลที่นึกได้ว่าตนเองมีคุณสมบัติเหล่านั้น

  • ตรวจดูว่าได้รวมข้อมูลที่สำคัญไว้ครบ หรือไม่และควรตัดข้อความที่ไม่สำคัญออก

  • ตรวจดูว่าเราได้ใส่ข้อมูลครบถ้วนตรงตามที่ประกาศโฆษณานั้นหรือไม่

  • เขียนหรือพิมพ์ให้ดูสะอาด เรียบร้อย การเว้นช่วงระยะต่างๆ ควรเป็นแบบมาตรฐานสากล

  • ควรเก็บฉบับสำเนาไว้ดู เพื่อว่าเมื่อถูกเรียกเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ จะได้รู้ว่าตนเองเขียนไว้อย่างไร ในจดหมายสมัครงานนั้น จะได้เตรียมคำตอบได้ถูกต้องในเวลาถูกสัมภาษณ์

  • ควรตรวจสอบดูให้แน่ใจว่า จ่าหน้าซองถูกต้องและเรียบร้อยดีหรือไม่ก่อนส่งไปยังผู้รับ


  • และต่อมาก็ถึงคำถามที่ว่า ควรจะเขียนจดหมายสมัครงาน เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษดี ข้อนี้ต้องดูเขาโฆษณาไว้อย่างไร ถ้าระบุว่า Please send your application letter in English อันนี้ก็ชัดเจน ถ้าไม่ระบุว่าให้เขียนเป็นภาษาอะไร เราก็ต้องตรวจดูว่าเขาลงโฆษณาเป็นภาษาอะไร ก็ให้เขียนเป็นภาษานั้นตามที่เขาโฆษณา
    แต่ถึงกระนั้นก็ตามทีเถอะ ถ้าหากเขาระบุคุณสมบัติไว้ว่า ผู้สมัครงานต้องรู้ภาษาอังกฤษดี (good command of English) แล้วละก็ ผมขอแนะนำว่า เขียนจดหมายสมัครงาน เป็นภาษาอังกฤษจะมีภาษีดีกว่ามากครับ
    ผมขอจบไว้แค่นี้ก่อนครับ ตอนหน้าคอยพบกับทีเด็ด ว่าด้วย กฎ 24 ข้อในการเขียนจดหมายสมัครงาน
    ที่มา:http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=72 

    Electronic Resumes

    Resume อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ Resume ที่สามารถส่งทางอี-เมล์หรืออินเทอร์เน็ตได้ ความได้เปรียบของการใช้ Resume อิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ คุณสามารถสมัครงานผ่านทางอี-เมล์หรือเวบไซต์ที่โพสอยู่ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องใช้แฟกซ์ หรือจดหมายให้ยุ่งยาก

    ถ้า Resume ของคุณอยู่ในคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ นั่นก็คือ คุณสามารถใช้ในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าวิธีนี้ จะได้ประโยชน์มากที่สุด ถึงแม้ว่าระบบอี-เมล์ส่วนใหญ่ จะสามารถรับส่งไฟล์ attachment ได้ทั้งในรูปของ Word, Word Perfect, Quark หรือไฟล์อื่น ก็ตาม เพราะใคร หรือองค์กรใด ที่คุณต้องการส่งเอกสารดังกล่าว ไปให้นั้น อาจไม่ได้รับก็ได้ Plain text (หรือเรียกอีกอย่างว่า ASCII Text หรือ MS-DOS Text ที่ลงท้าย ด้วยอักษรสามตัว คือ .txt) อย่างไรก็ตามรูปแบบนี้ ก็สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกแห่ง และเป็นที่ต้องการ ในหลายกรณี
    การทำให้ Electronic Resumes สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกหนแห่งนั้น คุณควรทำตามขั้นตอนดังนี้

  • ใช้ word processing application ที่เป็นมาตรฐาน จากนั้นก็เขียนเรซูเม่ตามปกติ ควรรู้ว่า plain text format นั้นเป็นมาตรฐานมาก และใช้เปิดรูปแบบอื่นๆ อย่างสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ตัวอักษรแบบหนา หรือเอียง ถ้าต้องการใช้ ควรใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) เครื่องหมายบวก (+) และตัวอักษรตัวใหญ่ (กรณีที่เขียนเป็น ภาษาอังกฤษ) แทน และไม่ว่าอย่างไรเสียก็ควรแน่ใจ ด้วยว่า Resume ของคุณนั้นต้องอ่านออก ได้ง่ายไม่ว่าจะใช้รูปแบบใดก็ตาม


  • ถ้าสามารถใช้แอพพลิเคชั่น word processing ได้ คุณควรตั้งขอบ หรือมาร์จินไว้ที่ 0 และ 65 ตัวอักษร (หมายความว่าบรรทัด ที่ยาวที่สุดไม่เกิน 65 ตัวอักษร ก่อนเริ่มบรรทัดใหม่) ซึ่งทำให้ Resume ของคุณง่าย ต่อการอ่าน และที่สำคัญก็คือ ปลอดภัย ที่จะพิมพ์ออกมา (โดยไม่มีการตกหล่นใดๆ) อีกด้วย


  • การใช้คำสั่ง "บันทึก" (หรือถ้าคุณกำลังเปลี่ยนเอกสารจากที่อื่นก็คือคำสั่ง "บันทึกเป็น") โดยบันทึกเอกสารของคุณ เป็นเอกสาร ASCII หรือ MS-DOS Text จำไว้ว่าต้องใส่ .txt ลงไปในไฟล์ด้วย เช่น resume.txt

  • เมื่อคุณส่ง Electronic Resumes อย่าลืมทำดังนี้
    • บอกถึงที่มาที่คุณพบโฆษณางานดังกล่าว
    • ส่ง Resume และจดหมายสมัครงาน ไปในไฟล์เดียวกัน คุณสามารถทำได้โดยการพิมพ์ หรือ คัดลอกของเดิมมาใส่ไว้ ในที่ว่างก่อนหน้า Resume คุณยังสามารถ ส่งจดหมายสมัครงาน ไปทางอี-เมล์โดยมี Resume อิเล็กทรอนิกส์เป็น attachment file
    • ใช้ชื่อตำแหน่งงานและ/หรือแหล่งที่มาของงานเป็นชื่อเรื่องของข้อความของคุณ
    • ติดตามผลงานด้วยอี-เมล์หรือโทรศัพท์หนึ่งสัปดาห์ หรือกว่านั้นหลังจากที่คุณได้ส่งไปแล้ว 
    • ที่มา : http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=56

    สำนวนที่ควรหลีกเลี่ยงในจดหมายสมัครงาน

    และต่อไปนี้ ก็คือ คำศัพท์และสำนวน ในการเขียนจดหมายสมัครงาน ที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งก็พอรวบรวมมาให้ดู ได้ดังนี้ครับ
    ควรหลีกเลี่ยงการเริ่มต้นจดหมาย ในลักษณะนี้
    1. This is in reply to your advertisement in......................................
    2. This is in answer to your advertisement for...........in...........................
    3. Your advertisement for...........caught my eyes as I read today's...........................
    4. Do you need...................who is experienced, hard-working and hones? I happened to notice your advertisement for one in......................................
    5. Thinking that you may require............................ . I am writing this letter to you. จะเห็นว่า สำนวนจากข้อ 1 ถึง 5 นี้ บางข้อก็จำเจ บางข้อก็ฟังดูเป็นการโอ้อวดเกินไป
    6. May I take the liberty of sending you my application?
    7. I beg to apply for the position of.............................
    8. I take the liberty of submitting my application.
    9. I submit my application for your sympathetic consideration.
    10. I submit my application for the said post.
    11. I submit my full particulars hereunder.
    12. I should feel highly obliged if you could kindly select me for the post.

    สำนวนจากข้อ 6 ถึง 12 นั้น เป็นภาษาอังกฤษที่เขียนแบบ เป็นทางการแบบเก่า ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้เนื้อหาจดหมายในลักษณะนี้
    1. I am an experienced typist. (ดิฉันเป็นนักพิมพ์ดีดที่มีประสบการณ์) การใช้คำขยายว่า experienced ดูเป็นการให้ข้อมูลที่กว้างเกินไป ควรจะคำนวณความเร็วของการพิมพ์ (Typing speed) ไปเลยว่านาทีละกี่ค่ำ เช่น
      My Thai (English) typing speed is ..........................words a minute.
    2. I have had four years experience with a well-known export company. (ผมมีประสบการณ์ 4 ปี กับบริษัทส่งออกที่มีชื่อเสียง) แทนที่จะใช้คำว่า well-known ก็ให้ระบุชื่อบริษัทไปเลย เพราะนายจ้างจะทราบเองว่า บริษัทที่เราเอ่ยถึงนั้นมีชื่อเสียงมากน้อยเพียงใด เราไม่ควรพูดยกยอเสียเอง
    3. .............the same. (ระบุไปเลยว่าเป็นอะไร)
    4. Your esteemed company.
    5. If you will be good enough to offer me a chance.
    6. I am enclosed herewith a copy of ..................
    7. .............to your complete/entire satisfaction.
    8. instant (เดือนนี้) คำนี้ไม่ควรใช้ให้ระบุเดือนลงไปเลย
    9. ...........at the early date.
    10. Resume and Degree Certificate are enclosed herewith for your perusal. ตัดคำว่า herewith ออก ส่วนคำว่า perusal ให้ใช้คำว่า consideration แทน
    11. Attached herewith is my resume.
    12. Please find enclosed my resume. (สำนวนนี้นิยมใช้ในจดหมายธุรกิจ)
    13. as per/pursuant to .........

    ควรหลีกเลี่ยงการลงท้ายจดหมายในลักษณะนี้
    1. A waiting the pleasure of a favorable response.
    2. In this endeavor I was eminently successful.
    3. Trusting you will give this application due and favorable attention.
    4. If you have any questions, please do not hesitate to let me know.
    5. If interested, please let me know.
    6. Thanking you once again.
    7. Hoping to hear from you soon.
    8. I hope you will not disappoint me.
    9. Thanking in anticipation/advance.
    10. Awaiting your early reply.
    11. I bet to remain.
    12. I have the honor to remain. Sir.
    13. Your most obedient servant.


    ครับ และนั่นก็เป็นตัวอย่าง ที่ยกมาให้ดูนะครับ และพยายามอย่านำไปใช้นะครับ ในตอนต่อไป ผมจะได้พูดถึงเรื่องการเขียนประวัติย่อ (Resume) กันเลย เพื่อท่านผู้อ่านจะได้นำไปใช้งานได้เร็วขึ้น ตอนนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ สวัสดีครับ

    ที่มา:http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=27

    สำนวนภาษาอังกฤษใช้ในจดหมายสมัครงาน

    และในตอนนี้ผมก็จะขอพูดต่อ เกี่ยวกับสำนวนภาษาอังกฤษ ใช้ในจดหมายสมัครงาน ผู้สมัครงานต้องไม่ลืมว่า การเริ่มต้นจดหมายกับการลงท้ายจดหมายนั้น มีความสำคัญเท่าเทียมกันเลยทีเดียว และต่อไปนี้เป็นสำนวน การลงท้ายจดหมายในย่อหน้าสุดท้าย ซึ่งก็จะเน้นตรงที่ว่า ขอให้ได้เข้าสัมภาษณ์ก่อน อย่างอื่นเอาไว้ว่ากันทีหลัง ดังนี้

    สำนวนเกี่ยวกับการลงท้ายจดหมาย พร้อมทั้งขอเข้ารับ การสอบสัมภาษณ์


  • 1. May I have an interview to discuss my qualifications with you in greater detail? I can come to your office at any time convenient to you (whenever you suggest). My telephone number is....................................
    (ขอได้โปรดเรียกกระผม เข้าสอบสัมภาษณ์ เพื่อจะได้ทราบ รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับคุณสมบัติของกระผม กระผมสามารถ มายังสำนักงานของท่าน เวลาใดก็ได้ ตามที่ท่านจะสะดวก (ตามที่ท่านจะนัดหมาย) หมายเลขโทรศัพท์ ของกระผมคือ...........)
    2. After you have had an opportunity to review my qualifications and examine the enclosed resume, will you please call me at...........or write me about the possibility of beginning a career with your company. I would appreciate the opportunity to discuss my qualifications with you.
    (หลังจากที่ท่านได้มีโอกาสพิจารณา คุณสมบัติของกระผม และตรวจสอบประวัติย่อที่แนบมาแล้ว ขอได้โปรดเรียกตัวกระผม ตามหมายเลขโทรศัพท์............... หรือส่งจดหมาย แจ้งให้กระผมทราบเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ที่จะได้เริ่มงานในบริษัทของท่าน กระผมจะขอบคุณมาก ถ้าได้มีโอกาสได้พูดกับท่าน เกี่ยวกับคุณสมบัติของกระผม)
    3. May I have the favour of a personal interview? I am free any time to come to your office. You may telephone me at...................or write to me at the above address.
    (ขอได้โปรดให้กระผม ได้มีโอกาสเข้ารับ การสอบสัมภาษณ์ เป็นการส่วนตัว กระผมว่าง ที่จะไปยังสำนักงาน ของท่านได้ทุกเวลา ท่านอาจจะโทรศัพท์ถึงกระผม ได้ตามหมายเลขนี้........... หรือส่งจดหมายถึงกระผม ตามที่อยู่ข้างบนนั้นก็ได้)
    4. May I have an opportunity for a personal interview? I would be grateful for the opportunity to discuss the matter with you at your convenience.
    (โปรดให้กระผมได้มีโอกาส เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ เป็นการส่วนตัว กระผมจะขอบคุณมาก ถ้าได้มีโอกาสพูดคุยกับท่าน ตามเวลาที่ท่านจะสะดวก)
    5. A statement of my qualifications is enclosed. I shall be pleased to provide further details at a personal interview, and I can come to your office when it is convenient to you. You may reach me at the above address.
    (กระผมได้แนบใบแสดงคุณสมบัติ ของกระผมมาพร้อมกันนี้แล้ว กระผมยินดีที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติม เมื่อได้เข้ารับ การสอบสัมภาษณ์เ ป็นการส่วนตัว และกระผมสามารถ มายังสำนักงานของท่านเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ท่านจะสะดวก ท่านอาจจะติดต่อ กับกระผมตามที่อยู่ข้างบนนั้นก็ได้)
    6. I look forward to the pleasure of a personal interview.
    (กระผมหวังว่าคงจะได้รับความกรุณา ให้ได้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัว)
    7. I hope you will consider my application favourably and grant me an interview.
    (กระผมหวังว่า ท่านจะพิจารณาใบสมัครงาน ของกระผมในทางดี และอนุญาตให้กระผม ได้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์)
    8. I would appreciate an interview and the opportunity to give you more details about myself.
    (กระผมจะขอบคุณมาก ถ้าได้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ และได้มีโอกาสให้รายละเอียด เกี่ยวกับตัวของกระผมกับท่าน)
    9. I would be very happy to call upon you at your convenience and discuss the possibility of putting my education and experience to work in your company. Please let me know when it is convenient and I will be there.
    (กระผมจะยินดีมาก ถ้าได้เข้าพบท่านตามเวลา ที่ท่านจะสะดวก เพื่อจะได้พูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ที่กระผมจะได้ใช้ความรู้และ ประสบการณ์ในการทำงาน ในบริษัทของท่าน โปรดแจ้งให้กระผมทราบเมื่อท่านสะดวก และกระผมจะไปพบท่านตามนั้น)
    และผมก็ยุติไว้เพียงนี้ก่อนครับ ในตอนต่อไป จะได้พูดถึงสำนวนที่ควรหลีกเลี่ยง และต่อจากนั้นก็จะได้พูดถึงเรื่องที่เบาๆ สมองกันบ้างนะครับ สวัสดีครับ 




  • ที่มา:  http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=24



  • สำนวนภาษาอังกฤษในการเริ่มต้นจดหมาย

    หลังจากที่ผมได้นำเสนอ เรื่องโครงสร้างจดหมาย สมัครงานไปแล้ว ในตอนนี้ เราจะมาดู เรื่องสำนวน ภาษาอังกฤษ ในการเริ่มต้น จดหมายกันครับ ซึ่งก็มีสำนวน ภาษาอังกฤษ ในการเริ่มต้น จดหมายกันครับ ซึ่งก็มีสำนวน ที่น่าสนใจ ดังนี้

    1. Your advertisement for a ......... in ......... dated ...... has Prompted me to ask you to consider my qualifications.
    (โฆษณาแจ้งความของท่าน สำหรับตำแหน่ง ........ ในหนังสือพิมพ์ ...... ลงวันที่ ...... กระตุ้นให้กระผมเกิดความสนใจ ที่จะใคร่ขอร้องให้ท่าน ช่วยพิจารณา คุณสมบัติของกระผมด้วย)
    2. With reference to your advertisement in ........... of ......... I Would like to apply for the position of ............ in your company.
    (ตามที่ท่านได้ลงโฆษณา แจ้งความในหนังสือพิมพ์ ..... ลงวันที่ ...... กระผมมีความประสงค์ที่ จะสมัครงาน ในตำแหน่ง ....... ของบริษัทท่าน)
    3. In ......... dated ......... I noticed your advertisement for ....... May I please be considered an applicant for this position?
    (ในหนังสือพิมพ์ ...... ลงวันที่ ........... กระผมพบโฆษณา แจ้งความของท่านสำหรับตำแหน่ง ....... กระผมใคร่ขอความกรุณา ให้ท่านพิจารณา กระผมเป็นผู้สมัครงาน ในตำแหน่งนี้ด้วย)
    4. I read your advertiscment in .......... of .......... for a person to fill the position of .......... l would like to apply for this position.
    (กระผมได้อ่านพบโฆษณา แจ้งความของท่าน ในหนังสือพิมพ์ ....... ฉบับประจำวันที่ ..... รับสมัครบุคคล เข้าทำงานในตำแหน่ง ....... กระผมมีความประสงค์ ที่จะสมัครงานในตำแหน่งนี้)
    5. I wish to apply for the post of ....... advertised in ...........
    (กระผมมีความประสงค์ ที่จะสมัครงาน ในตำแหน่ง ............................ ซึ่งลงโฆษณา แจ้งความ ในหนังสือพิมพ์ ..............)
    6. I have read with interest your advertisement in .............. and wish to apply for the position of ...........
    (กระผมได้อ่านโฆษณาแจ้งความ ของท่านในหนังสือพิมพ์ ............ ด้วยความสนใจและมีความประสงค์ ที่จะสมัครงานในตำแหน่ง ..................)
    7. I am very interested in the vacancy you are now advertising in the .......... for a ........... and would like to apply for the post.
    (กระผมมีความสนใจอย่างมาก ในตำแหน่งงานที่ว่างลง ซึ่งท่านกำลังลงโฆษณาแจ้งความในหนังสือพิมพ์ ......... สำหรับตำแหน่ง ........... และกระผมใคร่ที่จะสมัคร ในตำแหน่งนี้)
    8. I am writing to enquire whether you have a vacancy in your company where I could use my experience and qualifications.
    (กระผมเขียนจดหมาย มาสอบถามว่า ท่านมีตำแหน่งงานว่าง ในบริษัทของท่านหรือไม่ ซึ่งกระผมสามารถใช้ประสบการณ์ และคุณสมบัติได้)
    ครับข้างบนนั้น เป็นสำนวน ในการเริ่มต้นจดหมาย ในตอนต่อไปจะได้พูดถึงสำนวนในการใช้เพื่อดึงดูดใจผู้รับ ตอนนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนครับ สวัสดี 
    ที่มา: http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=23

    วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    Resume ที่ดีเป็นอย่างไร

    Resume เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้คุณได้งานทำได้ ไม่ว่าจะเลิศเลอสักแค่ไหน แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ Resume เรซูเม่ที่ดี จะช่วยดึงดูดความสนใจจากนายจ้างได้ เพราะจุดประสงค์ของ Resume ก็คือการทำให้ "ผลงานของคุณ" กับ "คุณสมบัติที่ว่าที่นายจ้างต้องการ" ใกล้เคียงกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะถ้านายจ้างได้อ่านแล้ว เกิดชอบใจขึ้นมา ก็จะติดต่อนัดหมายคุณเพื่อสัมภาษณ์งาน

    Resume ก็เหมือน "โบรชัวร์" เล่มเล็กที่จะช่วยโปรโมทคุณ ดังนั้นคุณต้อง "โชว์" ให้ว่าที่นายจ้างของคุณ เห็นว่าคุณมีผลงานยอดเยี่ยมแค่ไหน และมีประสบการณ์อะไรบ้าง กลยุทธ์ที่คุณควรนำมาใช้คือการเน้นการบรรยายประสบการณ์และทักษะ ที่คาดว่านายจ้างกำลังมองหาอยู่พอดี
    Resume ยังเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงทักษะ ในการสื่อสารและการจัดระบบของตัวคุณเอง Resume ที่ดี จะเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่จะทำให้ว่าที่นายจ้างของคุณ รู้ว่าคุณจะเป็นลูกจ้าง ที่มีค่ามากแค่ไหน ในทำนองเดียวกัน Resume ที่ทำอย่างลวกๆ สุกเอาเผากินจะทำให้คุณหลุดออกจาก "ลู่วิ่ง" ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้นเลยด้วยซ้ำ
    มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ Resume และการเขียน Resume ซึ่งบางครั้งก็อาจจะขัดแย้งกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ว ก็ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น
    คำแนะนำของเราคือ การหาหนังสือดีๆ เกี่ยวกับ Resume และ เรียนหลักการพื้นฐาน ในการเขียน Resume จากนั้นพยายามเลือกข้อมูลที่ "ใหม่" ให้ทันกระแสมากที่สุดเท่าที่จะหาได้ เพราะคำแนะนำเกี่ยวกับ Resume นั้นจะยึดกับสถานการณ์ปัจจุบันเสมอ
    อินเทอร์เน็ตก็มีคำแนะนำ และข้อมูลต่างๆ มากมายให้เลือกใช้ได้ฟรีๆ แต่ส่วนใหญ่ข้อมูลนั้น จะมีรายละเอียดน้อยกว่าหนังสือ 
    ที่มา : http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=26

    7 องค์ประกอบสำคัญของประวัติย่อ

    เนื้อหาของ ประวัติย่อ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่ทราบเรื่องเหล่านี้แล้ว จะเขียน Resume ให้ดีได้ยาก
    ส่วนประกอบของประวัติย่อ
    1. หัวเรื่อง (Heading) ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุด ส่วนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก (Low case letters)
    2. จุดมุ่งหมาย (Objective) จุดมุ่งหมายหรือตำแหน่งที่ต้องการสมัคร (Career objective/Position sought) ถ้าต้องการสมัครในตำแหน่งใด ก็ให้ระบุชื่อตำแหน่งนั้น หรือไม่ก็อาจจะบอกเป็นสายงานที่ตนต้องการทำก็ได้
    3. การศึกษา (Education) เช่น จบจากไหน สาขาวิชาอะไร จบเมื่อไร แล้วให้ระบุการศึกษา จบมาล่าสุดไว้ก่อน กล่าวคือ อาจจะเรียงการศึกษา ชั้นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ซึ่งโดยมากขั้นต่ำสุด ระบุแค่ชั้นมัธยม ไม่ต้องไปถึงชั้นประถม ผลการเรียนเป็นอย่างไร การศึกษาหลักสูตรพิเศษอื่นๆ มีอะไรบ้าง อะไรคือวิชาเอก (Major) วิชาโท (Minor) ส่วนปริญญาที่ได้รับ ก็ไม่ควรใช้คำย่อ ควรมีคำเต็มกำกับ และในกรณี ที่จบจากต่างประเทศ ก็ควรระบุประเทศ ที่จบการศึกษานั้นๆ มาด้วย เช่น Master of Business Administration (MBA), USA, (ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา)
      ส่วนการเขียนชื่อสถาบันการศึกษา และวิชาที่จบนั้น เราสามารถดูได้จากใบแสดงวุฒิ หรือผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น Degree Certificate, Transcript หรือ Mark Sheet ก็ได้ หรือถ้าเขียน เป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก ก็อาจจะดูได้จากบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ หรือถามจากผู้ที่รู้ก็ได้
    4. ประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ในการทำงานนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการสมัครงาน เพราะนายจ้างสามารถใช้รายละเอียดเหล่านี้ นำไปพิจารณาเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า เหมาะสมกับงานในหน่วยงานของตนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วนักศึกษาจบใหม่ จะมีประสบการณ์น้อย หรือแทบไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควร ระบุงานที่เคยทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทำเต็มเวลา (Full-time) หรือทำไม่เต็มเวลา (Part-time) ก็ตาม หรือแม้แต่งานที่ทำโดยไม่มีค่าจ้างตอบแทนก็ตาม ซึ่งก็อาจจะเป็นกิจกรรมพิเศษ หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Special-Activities Or Extra-curriculum activities) เช่น เคยเป็นผู้นำนักศึกษา หรือหัวหน้าทีมนักกีฬา เป็นต้น
      ในกรณีที่เคยทำงานเต็มเวลา (Full-time employment) มาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงงานที่ทำไม่เต็มเวลา หรือกิจกรรมอื่นๆ มากนัก และควรบอกรายละเอียด ที่สำคัญของงานที่เคยทำคือ
      • วันเดือนปีที่เคยทำงาน (Date of employment)
      • ชื่อและที่อยู่ของสถานที่ว่าจ้าง (Company''s name and address)

    5. คุณสมบัติพิเศษ (Special Qualifications) เกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมี ถ้าไม่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ก็ตัดออกไป คุณสมบัติพิเศษที่กล่าวถึงนี้ เช่น ความสามารถทางด้านภาษา ด้านการเขียน หรือขับรถยนต์ได้ รู้เส้นทางดี เป็นต้น
    6. รายละเอียดส่วนตัว (Personal Details) รายละเอียดส่วนตัวประกอบด้วย
      • Sex = เพศ
      • age = อายุ
      • Date of birth = วันเดือนปีเกิด
      • height = ความสูง
      • weight =น้ำหนัก
      • health = สุขภาพ (ใช้ good health หรือ Excellent)
      • address = ที่อยู่
      • Marital status = สถานภาพการสมรส (Married/Single) หรืออาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม
      • religion = ศาสนา
      • Military status = สถานภาพทางทหาร
      • Place of birth = สถานที่เกิด
      • nationality = สัญชาติ
      • race = เชื้อชาติ
      และในส่วนนี้อาจจะเพิ่มงานอดิเรก (Hobbies) เข้ามาอีกก็ได้ถ้ามี เช่น ว่ายน้ำ (Swimming) ไต่เขา (Hiking) หรือสะสมแสตมป์ (Stamp-collecting) เป็นต้น
    7. บุคคลอ้างอิง (References) บุคคลที่เป็นนายจ้างเก่าของเรา จะเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เป็นบุคคลอ้างอิง แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้ออกจากงาน กลัวนายจ้างจะรู้ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็น ครู อาจารย์ที่เคยสอน เพื่อนร่วมธุรกิจ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ต้องไม่ใช่ญาติ หรือเพื่อนสนิทของเรา และที่เรียกว่าบุคคลอ้างอิง อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่จะสามารถ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของเราได้ และควรอ้างมา 2-3 ท่าน พร้อมทั้งที่อยู่ที่จะติดต่อได้ และอาชีพของเขาเหล่านั้น
    อนึ่งการส่งรายชื่อบุคคลอ้างอิงนั้น บางหน่วยงานก็ไม่ต้องการในขณะนั้น แต่บางหน่วยงาน ก็ต้องการในทันที ที่ยื่นจดหมายสมัครงาน แต่มีบางกรณี ที่เราไม่สามารถส่งรายชื่อบุคคลอ้างอิงได้ทันที อย่างไรก็ตาม สำหรับตอนนี้ผมขอจบไว้ เพียงเท่านี้ก่อนครับ...
    ที่มา :  http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=58

    3 รูปแบบของ Resume

    ประสบการณ์การทำงานของแต่ละคนนั้น มีหลากหลาย และแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงไม่มี Resume แบบใดที่ "ดีที่สุด" สำหรับทุกคน แต่อย่างน้อยก็มีหลายวิธี ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่า เป็นการเรียงร้อยข้อมูลเพื่อให้ Resume ของคุณ "โดดเด่น" มากที่สุด
    การเขียน Resume ที่นิยมพูดถึงกันบ่อยที่สุดมีอยู่ 2 แบบ นั่นคือแบบที่ "เรียงตามลำดับเวลา" (Chronological) และ "เรียงตามหน้าที่" (Functional) ทั้งสองแบบมีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบในตัวเอง เมื่อถึงเวลาต้องนำเสนอข้อมูล
    สำหรับ รูปแบบที่สาม ซึ่งผสมทั้งสองแบบแรกไว้ด้วยกัน กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง ลองมาดูภาพรวมของแต่ละแบบ เพื่อที่คุณจะได้ตัดสินใจได้ว่าแบบไหนคือ Resume ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ 1. เรียงตามลำดับเวลา
    Resume แบบเรียงตามลำดับเวลา เป็นรูปแบบที่ธรรมดาที่สุด และนายจ้างก็ชอบมากที่สุดเหมือนกัน รูปแบบนี้จะเน้นไปที่ ประสบการณ์การทำงาน ประวัติการทำงานของผู้สมัคร จะต้องกลับกันกับลำดับเวลา นั่นคืองานล่าสุด จะต้องอยู่บนสุดในรายการ
    Resume แบบเรียงตามเวลาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าประสบการณ์ทำงานของคุณ มีความเกี่ยวข้องกับงานที่สมัคร และคุณก็ต้องการอยู่ในอาชีพสายเดิมต่อไป ว่าที่นายจ้างจะสามารถเห็น ได้อย่างง่ายดาย ว่าคุณทำอะไรไปบ้าง คุณก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไร และเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาอย่างไร
    ถึงแม้ว่ารูปแบบนี้จะเป็นที่นิยมมากก็ตาม แต่ก็มีเหตุผลบางอย่างที่ Resume แบบนี้อาจไม่ใช่สำหรับคุณ ถ้าคุณเพิ่งจะก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่ชีวิตของการทำงาน Resume แบบนี้จะทำให้คุณเป็นผู้ "ขาดประสบการณ์" ไปทันที
    หรือถ้าคุณกำลังสมัครงานอีกครั้ง หลังจากที่หายไปเป็นเวลานาน ใน Resume แบบนี้จะบ่งชี้ได้อย่างดีว่าคุณอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร โดยมีรูโหว่ ในประวัติการทำงานของคุณ จะเป็นหลักฐาน และคุณก็อาจถูกถามถึงเหตุผลด้วย
    และในทำนองเดียวกัน ประวัติการทำงาน ที่เต็มไปด้วยงานระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้นายจ้างในอนาคตของคุณ สงสัยว่าคุณจะมีความสามารถ "ถูกจ้าง" ได้อีกหรือไม่ ประวัติการทำงานยาวๆ อยู่กับบริษัทเพียงแห่งเดียว อาจบอกอะไรเป็นนัยๆ ได้ เป็นต้นว่าคุณอาจรู้สึกอึดอัดใจที่จะทำงานต่อไป 2. แบบเรียงตามหน้าที่รับผิดชอบ
    Resume แบบนี้ไม่ได้เรียงตามลำดับเวลา แต่จะเน้นที่ทักษะ และผลงานของคุณ ประวัติการทำงานจะสรุปไว้ หรือหลีกเลี่ยงที่จะนำมารวมกัน ทักษะและประสบการณ์ตรงที่ผ่านมา (รวมถึงการศึกษา) จะนำมาไว้ตอนต้นของ Resume ซึ่งถูกจัดรวมไว้ เพื่อที่ว่าที่นายจ้างจะได้เห็นว่า ทักษะของคุณนั้น เกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัครอย่างไร (ใน Resume แบบเรียงตามลำดับเวลา นายจ้างอาจแค่ดูที่งานที่คุณเคยทำมาก่อน เพื่อดูว่าคุณมีประสบการณ์ที่เขาต้องการ)
    Resume แบบนี้ อาจต้องใช้ความพยายาม ในการเขียนมากกว่า แต่คุณก็มีอิสระ ในการเน้นที่พรสวรรค์ของคุณ แทนที่จะเป็นประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา
    Resume แบบเรียงตามหน้าที่รับผิดชอบ จะช่วยคุณได้มาก หากคุณเคยดำรงตำแหน่งคล้ายๆ กันมาบ้าง ซึ่งจะทำให้คุณ "ตอกย้ำ" ทักษะของคุณได้มากกว่า การลงรายละเอียด ประวัติการทำงานที่ไม่จำเป็น
    แต่ Resume แบบเรียงตามหน้าที่นี้ อาจเพิ่มความสงสัยให้แก่นายจ้าง ว่าคุณกำลังปิดบังข้อมูลอะไรบางอย่าง ไม่ได้หมายความว่า Resume แบบเรียงตามหน้าที่ จะถูกละเลยหรือเป็น Resume ที่ไม่ได้ผล แต่นายจ้างที่กำลังมองหา ประวัติการทำงานที่โปร่งใส ชัดเจนอาจจะไม่ชอบ Resume รูปแบบนี้นัก โดยเฉพาะถ้าคุณใช้ เพื่อปิดบังประสบการณ์ หรือช่วงห่าง ระหว่างประวัติการทำงานของคุณ
    ถ้าคุณไม่มีปัญหาใดๆ ล่ะก็ จงใช้ Resume แบบเรียงตามลำดับเวลาจะดีกว่า ถ้าคุณยังชอบไอเดีย ของการเรียงตามหน้าที่ คุณอาจทำให้มันเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยการรวมสองอย่างเข้าด้วยกัน 3. Resume แบบผสม
    Resume แบบนี้ก็คือ การนำ Resume แบบเรียงตามหน้าที่ โดยเพิ่มประวัติการทำงานเข้าไป ทักษะและผลงาน ยังคงนำมาไว้เป็นอันดับแรก จากนั้นตามด้วยประวัติการทำงาน คุณต้องบอกด้วยว่าทำงานที่ไหน เมื่อไหร่ และตำแหน่งอะไร
    Resume แบบนี้จะทำให้นายจ้างไม่ลำบากใจ ในประสบการณ์การทำงานของคุณ และยังคงทำให้คุณ สามารถเน้นความสามารถ และเน้นว่าคุณจะใช้ความสามารถนั้น กับงานที่คุณสมัครได้อย่างไร ในขณะที่เหล่านายจ้างทั้งหลาย ก็ยังคงชอบ Resume แบบเรียงตามลำดับเวลามากกว่า และ Resume แบบผสมผสาน ก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง 
    ที่มา: http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=42

    ประวัติย่อคืออะไร (เรซูเม่)

    ครับ หลังจากที่อธิบายกันมาหลายตอน เกี่ยวกับจดหมายสมัครงาน มาถึงตอนนี้ จะได้เข้าเรื่องประวัติย่อกันละครับ และก็อย่างที่ผมเคยพูดไว้ในตอนต้นๆ ว่า คำว่า "ประวัติย่อ" นี้ มีชื่อเรียก เป็นภาษาอังกฤษ ได้หลายคำ คือ

    - Personal data
    - Curriculum vitae เรียกต่อๆ ว่า CV
    - bio-data
    - data sheet และคำที่ใช้กันบ่อยก็คือ
    - Resume
    อนึ่ง คำว่า "Resume" นี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า Summary แปลเป็นไทยว่า สรุปหรือย่อ ฉะนั้นเวลาเขียน จะใช้การสะกดแบบ ฝรั่งเศส หรือแบบภาษาอังกฤษ ก็ได้ด้วยกันทั้ง 2 แบบครับ ปัจจุบันนี้ Resume นับว่ามีความสำคัญเท่าๆ กับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ก็แทบจะว่าได้ จะเห็นได้จากข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่างๆ โดยฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อมกับจดหมายสมัครงานด้วย ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่า ผู้สมัครต้องแนบเอกสารอะไรไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น
    1. If you are interested, please send application in English with resume, detailed with your experience and qualifications together with one recent photo to............
    (ถ้าท่านสนใจ โปรดส่งจดหมายสมัคร เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยประวัติย่อและรายละเอียด เกี่ยวกับประสบการณ์และคุณวุฒิ พร้อมกับทั้งรูปถ่ายหนึ่งรูปไปยัง......)
    2. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to............
    (โปรดยื่นจดหมายสมัครงาน พร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนวประวัติย่อ และรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่...........)
    3. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to..............
    (โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง............)
    4. Please address your application with fulll resume, salary expected, recent photograph, and telephone number to...............
    (โปรดส่งจดหมายสมัครงานพร้อมด้วยประวัติย่อ เงินเดือนที่ต้องการ รูปถ่ายปัจจุบัน และหมายเลขโทรศัพท์ไปยัง.........)
    5. Interested person please send application with full resume, salary required and a recent photo to .........)
    (ผู้ที่สนใจโปรดส่งจดหมายสมัครงานพร้อมด้วยประวัติย่อ เงินเดือนที่ต้องการ และรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง............)
    6. Please apply in person or in handwriting in English with full resume giving details of working experience, qualifications, contacting place and telephone number, and send a copy of transcript, ID Card, House Registration together with one recent photo to..........
    (โปรดสมัครด้วยตนเอง หรือส่งจดหมายสมัครงาน เขียนด้วยลายมือเป็นภาษาอังกฤษพร้อมทั้งประวัติย่อ ซึ่งให้รายละเอียด เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน คุณวุฒิ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และส่งสำเนาผลการศึกษา บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปยัง...)
    7. Please apply in writing giving full resume and recent photo to........
    (โปรดเขียนจดหมายสมัครงานด้วยลายมือตนเอง พร้อมทั้งให้ข้อมูลเต็มในประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง.......)
    ครับ จากตัวอย่างทั้ง 7 ข้อที่ผมมาให้ดูนี้ ก็จะพบว่าส่วนใหญ่นายจ้างต้องการ Resume ของเราด้วย นั่นก็หมายความว่า Resume มีความสำคัญมากในกระบวนการสมัครงานเช่นกัน ครับ ผมก็จะจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน ตอนหน้าที่จะได้พูดถึงว่าอะไรคือรายละเอียดที่ต้องระบุไว้ใน Resume ครับ สวัสดีครับ
    ที่มา : http://www.nationejobs.com/content/tiptools/jobtips/template.php?conno=46

    เมื่อจดหมายสมัครงาน มัดใจ นายจ้างคนใหม่ ให้อยู่หมัด(1) พร้อมตัวอย่าง ภาษาอังกฤษ


    52 107 Buaban Villa Sukhaphiban 2
    Bangkapi
    Bangkok


    12 March 1990

    The Bureau Chief
    NHK TV, 6 F MOT Building,
    222 Rama 9 Road,
    Bangkok 10310

    Dear Sir,
                        Your advertisement in Bangkok Post of March 10, 1990, for the position of a translator has attracted my attention because I think that my qualifications will fulfil your requirements.
              I am a graduate from Poona University in India and hold a Master's degree in Politics and Public Administration. While studying at the University, I had a part-time job as a translator for the Royal Thai Consulate in Bombay. From time to time, I also contributed some English articles to the university's magazine and won several prizes in the essay contests. My English and Thai typing speeds are 50 words and 40 words a minute respectively. Because of my translation and writing experience, I am confident that I will be able to do a good job for you.
              H.E. Prateep Rewangnam, Consul General in Bombay, has permitted me to use his name as a referee. Enclosed you will find my detailed Resume, a degree certificate and two recent photographs.
              I shall be able to call for an interview at your convenience and shall be glad to give you any further information that you may require. If you wish to telephone me, my number is 433-1907



    Yours faithfully,


    ( Mr. Lamduan Chadchaidee )


    กลวิธี ง่าย ๆ ที่คุณสามารถพลิกวิกฤติ ให้เป็นโอกาสได้ เพียงแค่คุณรู้เทคนิค ในการเขียนจดหมายสมัครงาน ทำอย่างไรให้น่าสนใจ และดึงดูด ในสายตาบริษัทชั้นนำ ทั้งหลาย
    วันนี้ เราจะมานำแนะนำ ตัวอย่างจดหมายสมัครงาน แบบแรก ที่เราภูมิใจนำเสนอก็คือ การเขียนจดหมายสมัครงาน ภาษาอังกฤษ เป็นแบบเรียบง่าย แต่ดูดี เพราะหากคุณเขียน จดหมายสมัครงาน เป็นภาษาอังกฤษได้ ประตูที่เปิดรอรับ คุณเข้าทำงานนั้น ไม่ยากอย่างที่คุณคิดหรอกครับ ใช้ตัวอย่างจดหมายฉบับนี้ ไปปรับเปลี่ยนแนวทาง ให้ดูเหมาะสมกับ คุณสมบัติของคุณ ไม่แน่วันพรุ่งนี้ คุณอาจจะเป็นคนต่อไป ที่ได้รับโทรศัพท์เพื่อ ขอสัมภาษณ์งาน เรามาเริ่มกันลยดีกว่าครับ
    • ส่วนที่ 1 : ส่วนแรกนี้ จะเป็นส่วนที่กล่าวถึง แหล่งที่มาว่า คุณเห็นประกาศ รับสมัครงานของบริษัท ที่คุณต้องการสมัครงาน จากสื่อไหน และเมื่อวันที่เท่าไหร่ และระบุถึงตำแหน่งงาน ที่คุณสนใจพร้อมไปด้วย
    • ส่วนที่ 2 : เกริ่นถึงประวัติการเรียน และประสบการณ์ในการทำงาน พอสังเขป พยายามค้นหาตัวเองให้เจอว่า ตัวคุณเองนั้นมีจุดเด่นตรงไหน ที่สามารถ สนับสนุนกับตำแหน่งงาน ที่คุณกำลังจะสมัครไป
    • ส่วนที่ 3 : การสร้างความมั่นใจให้กับบริษัท ฯ ที่เราสมัครไป โดยการอ้างอิงบุคคลที่สามารถ ยืนยันได้ว่าเรามีคุณสมบัติ และความสามารถอย่างที่เราได้กล่าวอ้างจริง ๆ บุคคลที่สามารถอ้างถึงได้ ควรจะเป็น เจ้านายเก่า หรืออาจารย์ที่เรา รู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี
    • ส่วนที่ 4 : เป็นการปิดท้ายด้วยประโยคที่ สื่อให้เห็นถึงความมั่นใจ และความพร้อมในการทำงาน พร้อมกับเบอร์ติดต่อ ที่ทางบริษัท ฯ จะสามารถติดต่อ คุณได้ตลอดเวลาที่เขาสนใจ และพรอ้มจะเรียกคุณเข้าสัมภาษณ์
    สิ่ง สำคัญของจดหมายสมัครงาน ภาษาอังกฤษก็คือ "ไวยกรณ์ " คุณควรจะมีการตรวจทาน ทุกครั้งหลังเขียนเสร็จ วานให้เพื่อน หรือใครซักคน ช่วยตรวจแก้ไขอีกครั้ง เพื่อความแน่ใจ ไม่จำเป็นต้องเขียนประโยค ที่ซับซ้อนมาก ขอแค่คุณสามารถสื่อสารให้เเข้าใจ และอ่านง่ายก็พอแล้ว
    หวัง ว่าตัวอย่างจดหมายสมัครงาน ฉบับนี้ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และแรงกระตุ้นให้คุณ ๆ ทั้งหลาย เตรียมพร้อมในสมรภูมิ การสมัครงานที่ดุเดือดแล้วนะครับ ขอให้โชคดี 

    * ขอขอบคุณ หนังสือ "การสมัครงาน และสอบสัมภาษณ์" ของ ลำดวน จาดใจดีที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    ที่มา:http://www.tumcivil.com/tips/gen.php?id=128

    เทคนิคการหางาน ตอน การเขียนจดหมายสมัครงาน

    เขียน จดหมาย สมัคร งานกระบวนการหนึ่งของการสมัครงานนั้น คือ การเขียนใบสมัคร ซึ่งเป็นเสมือนสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวผู้สมัครเอง และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะนายจ้างมักใช้ในการพิจารณาขั้นพื้นฐานก่อน ที่จะมีการเรียกตัวเข้ามาสัมภาษณ์งาน หนึ่งในเอกสารที่ต้องใช้เพื่อการแนะนำตัวคือจดหมายสมัครงาน

    จดหมายสมัครงาน

    คือ จดหมายที่ใช้ในการแนะนำตัวซึ่งจะส่งไปควบคู่กับเอกสาร ในการสมัครงานโดยมีข้อแนะนำ สำหรับนักศึกษาจบใหม่หรือผู้เริ่มหางานดังนี้

    ข้อมูลส่วนตัวที่ควรมีในจดหมายสมัครงาน

    1. ชื่อ - นามสกุล
    2. ที่อยู่
    3. หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ อย่างน้อย 2 เบอร์
    4. ตำแหน่งงานที่จะสมัคร
    5. รูปถ่าย
    6. ลงลายมือชื่อกำกับบนชื่อของเราในตอนท้ายของจดหมาย

    จดหมายสมัครงาน

    1. การสะกดชื่อบริษัทผิด
    2. ควรใช้กระดาษ A4 ไม่ว่าจะใช้ลายมือตัวเองในการเขียน หรือจะใช้การพิมพ์จากคอมพิวเตอร์รวมถึงเอกสารอื่นๆ ด้วย และกระดาษไม่ควรมีลายใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นการสมัครงานบางประเภทเช่น สถาปนิก กราฟิก วิศวกร ซึ่งอาจต้องมี Portfolio เพื่อเป็นการโชว์ผลงานบ้าง
    3. ควรทำ Resume ทั้งแบบภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
    4. รูปถ่ายควรจะถ่ายแบบสีและใช้ขนาดตามที่บริษัทนั้นๆ กำหนด ควรติดรูปไว้มุมขวาบนของ Resume และไม่ควรเอารูปใส่ซองไว้ เพราะอาจตกหล่นได้ ที่สำคัญไม่ควรแต่งภาพจนโอเว่อร์เกินตัวจริง เพราะจะทำให้คนที่จะเรียกเราสัมภาษณ์นั้นเกิดการผิดหวัง
    5. เมื่อเอกสารครบแล้ว ควรตรวจทานอีกครั้งก่อนส่ง รูปแบบการจัดเอกสารคือ จดหมายนำ ตามด้วย Resume และ รูปถ่าย และจัดขอบให้ตรงกันให้เรียบร้อย และไม่ควรพับใบสมัครลงในซองจดหมาย ควรที่จะหาซองที่สามารถใส่เอกสารขนาด A4 ได้ แต่ไม่ต้องใหญ่เกินไป   
    6. ที่มา :http://th.jobsdb.com/th/th/v6html/home/student_editor14.htm

    วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

    วิธีการส่งใบสมัครงานทางไปรษณีย์

    1.วิธีการส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ (Apply by Application Form) คือ การที่คุณมีตำแหน่งงาน และที่อยู่ ของบริษัทที่คุณสนใจอยู่ในมือ และคุณ ก็เลือก ที่จะใช้ วิธีการส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ ดังนั้นสิ่งที่คุณ จะต้อง จัดเตรียม คือ 

    1.1 จดหมายนำ หรือ จดหมายสมัครงาน เป็น จดหมายที่คุณจะต้องเขียน ถึงผู้จัดการฝ่าย บุคคล ของบริษัทนั้น ซึ่งเนื้อหาภายในจดหมายจะเป็นการ แนะนำตัวคุณเองอย่างย่อๆ โดยจะเป็นการอธิบาย ว่าคุณทราบที่มาของ การรับสมัครงานนี้ได้อย่างไร ตำแหน่งที่คุณสนใจ และเหตุใดคุณจึง สนใจ ตำแน่งนี้ คุณเหมาะสมกับตำแหน่งนี้อย่างไร ซึ่ง ในส่วนของ การเขียนจดหมายนี้จะกล่าวไว้ หัวข้อ วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน

    1.2 ประวัติย่อ (Resume) เป็นการบรรยายรายละเอียด เกี่ยวกับตัวคุณ ในเรื่อง ของประวัติการศึกษา ประสบการณ์ การทำงาน ความสามารถพิเศษ และความ สนใจอื่น ซึ่งจะกล่าวไว้ ในหัวข้อการเขียน ประวัติส่วนตัว เช่นกัน

    1.3 ใบสมัคร ใบสมัครนี้คุณอาจได้รับจากบริการจัดหางาน ของ มหาวิทยาลัย หรือจากตลาดนัดพบแรงงาน แต่กรณี ที่คุณ ไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ เพราะใน บาง บริษัท จะให้คุณกรอก เมื่อบริษัทเรียกตัว คุณไป สัมภาษณ์
    1.4 รูปถ่ายและเอกสารอื่นๆ ในบางบริษัทอาจมีการระบุ ชนิดของ เอกสาร ที่ให้ แนบไป พร้อมกับจดหมายสมัครงาน หรือในกรณีที่ ไม่มีการ ระบุให้แนบ เอกสารประกอบการ สมัครงานไป คุณก็อาจจะแนบเอกสาร ที่คุณคิดว่า สำคัญ และจะช่วยประกอบ การพิจารณา ส่งไปด้วย ก็ได้


    ข้อดี
    1. สะดวกและประหยัดเวลากว่า การเดินทางไปกรอกใบสมัครด้วยตนเอง ในหลายๆ ที่
    2. คุณมีโอกาสที่จะใช้เวลาในการพิจารณากรอกใบสมัครได้อย่างรอบคอบมากขึ้น กรณีที่คุณมีใบสมัครของบริษัทนั้นอยู่แล้ว 


    ข้อเสีย
    1. คุณอาจต้องใช้เวลาในการรอเรียกสัมภาษณ์
    2. คุณไม่สามารถจะทราบได้ว่าตำแหน่งที่สมัครไปนั้นยังว่างอยู่หรือไม่ เพราะประกาศรับสมัครงานที่คุณอ่านเจอนั้น อาจจะเป็นประกาศที่ได้ลงประกาศมา เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งบริษัทนั้นก็อาจจะรับผู้สมัครคนอื่นไปเรียบร้อยแล้ว

    ที่มา: http://www.jobchiangmai.com/learning/StartJob/rework31.htm

    หลักฐานการสมัครงาน

    หลักฐานในการสมัครงานเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างยิ่งใน การสมัครงาน ซึ่งเอกสาร ที่คุณควรจัดเตรียมไว้มีดังนี้

    1. ประวัติส่วนตัว (Resume)
    2. รูปถ่าย ควรเป็นรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว โดยเป็นรูปสีหรือขาวดำก็ได้ แต่ขอให้เป็น การแต่งกาย ที่สุภาพ
    3. สำเนาใบรับรองการศึกษา ได้แก่ Transcript และสำเนา ใบปริญญาบัตร
    4. สำเนาบัตรประชาชน
    5. สำเนาทะเบียนบ้าน
    6. สำเนาหลักฐานการพ้นภาระทางการทหาร
    7. สำเนาหนังสือรับรองการผ่านงานหรือการฝึกงาน (ถ้ามี)
    ปล. เอกสารเหล่านี้ควรเตรียมถ่ายสำเนาไว้หลายๆ ชุด และที่สำคัญอย่าลืม เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง 

    ที่มา: http://www.jobchiangmai.com/learning/StartJob/rework2.htm

    การเตรียมตัวสมัครงาน



     ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องของการเตรียมตัวสมัครงานแล้ว คาดว่าหลายคนทั้งที่ กำลัง ว่างงานอยู่ หรือที่เพิ่งจะสำเร็จการศึกษาออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัย คงจะลืม หรือ มองข้าม ที่จะให้ความสำคัญในส่วนนี้ไป แต่จะไปให้ความสำคัญ ในเรื่องของ การ เตรียมตัว สัมภาษณ์งานมากกว่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเตรียมตัว สมัครงาน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำคุณไปสู่งานที่ดีได้ เพราะการที่คุณมีความพร้อม แล้ว นั่นหมายความว่า คุณมีความมั่นใจ พอที่ก้าวไปสู่บันไดชีวิตขั้นต่อไปได้แล้ว และ ต่อไปนี้คือขั้นตอนของ การเตรียมตัวสมัครงาน

    1.ทำความรู้จักกับตนเอง ว่าคุณชอบอะไร ถนัดอะไร มีความสามารถ ทางด้านไหน และอยากทำงาน ในธุรกิจ ประเภทใด เพื่อที่คุณ จะได้ส่งใบสมัคร ไปยัง งานที่ตนเองสนใจ และมีความถนัด เท่านั้น เพื่อเป็นการ ประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่าย ในการที่จะต้อง ไปสัมภาษณ์ในงาน ที่คุณไม่ได้มี ความสนใจเลย


    2.มองหาแหล่งงาน เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองชอบอะไร และ อยากทำงานด้านไหนแล้ว คุณก็ควรที่จะ เริ่มต้น มองหา แหล่งงาน โดยในปัจจุบันทางเลือกของแหล่งงาน นั้น มีมากมาย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณสะดวกที่จะใช้วิธีไหน ก็ต้อง มาดูกันว่า คุณจะมองหางาน จากที่ไหนดี


    2.1 ญาติสนิทและเพื่อนฝูง วิธีนี้ใช้ได้ดีทีเดียวสำหรับคนที่มีญาติสนิท และเพื่อนฝูง เยอะและคุณเอง ก็จะ ได้เปรียบกว่าคนอื่น ตรงที่คุณ จะได้ รับรู้รายละเอียด และระบบงาน ของบริษัทนั้น จากปากของ คนที่เราสนิทเอง ทำให้คุณสามารถใช้ข้อมูลนั้น ในการ ประกอบ การตัดสินใจได้


    2.2 หนังสือพิมพ์ ดูจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด เพราะใน ปัจจุบันนี้ หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ต่างก็มีการ จัดทำ Section เกี่ยวกับ ประกาศรับสมัครงาน หรือที่ เรียกว่า หน้า Classified ออกมาด้วย เช่น บางกอกโพสต์ กรุงเทพธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งก็ต้อง เลือกดูกันว่า จะอ่านจาก หนังสือพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษดี แต่ขอบอก นิดนึงว่า ส่วนใหญ่บริษัทที่ลงประกาศ ในหนังสือพิมพ์ ภาษาอังกฤษนั้น จะค่อนข้าง อินเตอร์ซักหน่อย ถ้าจะเขียน จดหมายสมัครงาน บริษัทประเภทนี้ ก็ควรจะเขียน ภาษา อังกฤษด้วย


    2.3 บริการจัดหางานโดยกรมการจัดหางาน ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่น่าสนใจ มีทั้งงานของภาครัฐ และ เอกชนให้คุณเลือก โดยคุณสามารถ ไปเขียนใบสมัคร ทิ้งไว้ได้ที่ สำนักงานจัดหางาน ใกล้บ้านคุณ หรือจะไปถึงที่ เลยก็ได้ และปัจจุบันนี้กรมการจัดหางาน ก็ยังอำนวย ความสะดวก ให้คุณมากขึ้นด้วยการจัดทำเว็บไซต์ เพื่อ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และบริการหางานผ่านทาง Internet โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย
    ที่มา:http://www.jobchiangmai.com/learning/StartJob/rework1.html

    เคล็ดลับการเขียนเรซูเม่

    การ เขียน resume
    เรซูเม่ที่เข้าตากรรมการช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้รับการเชื้อเชิญเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน แม้ว่าคุณจะเป็นบัณฑิตจบใหม่และยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานก็ตาม คุณสามารถเอาชนะผู้สมัครคนอื่น ๆ ได้ด้วยการใช้เทคนิคต่อไปนี้ในการเขียนเรซูเม่เพื่อแนะนำตัวคุณให้นายจ้างรู้จัก

      


    ความยาว :
    • √ เขียนให้ชัดเจนและตรงประเด็น จะทำให้คุณโดดเด่นจากผู้สมัครคนอื่น
    • √ ความยาวปกติอยู่ที่ 1 – 2 หน้ากระดาษ
    • √ ความยาวสูงสุด ไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ

    คำสำคัญ :

    • √ เลือกใช้คำสำคัญตามที่นายจ้างคาดหวัง เช่น คำบอกคุณสมบัติตามที่นายจ้างระบุในประกาศรับสมัครงาน
    • √ เลือกใช้ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในแวดวงธุรกิจที่คุณสมัคร
    • χ หลีกเลี่ยงการเขียนประโยคยาว ๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง

    การตรวจคำผิด :

    • √ ตรวจทานเรซูเม่ของคุณอย่างน้อย 2 - 3 รอบ
    • χ การพิมพ์ผิด หรือสะกดผิด บ่งบอกว่า คุณไม่ได้ใส่ความตั้งใจลงไปในเรซูเม่ของคุณ

    การออกแบบ :

    • √ จัดระเบียบเรซูเม่ของคุณให้อ่านง่าย สบายตา
    • √ เน้นจุดแข็งของคุณให้ชัดเจน
    • χ ไม่ควรพิมพ์เรซูเม่ลงบนกระดาษที่มีลวดลายหลากสี หรือมีกลิ่นหอม

    เงินเดือนที่คาดหวัง :

    • √ ควรระบุเป็นช่วงเงินเดือน
    • χ ไม่จำเป็นต้องระบุเงินเดือน หากนายจ้างไม่ได้ร้องขอ
    และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญต่อการแข่งขันในโลกธุรกิจปัจจุบัน บริษัทชั้นนำต้องการผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้นผู้สมัครที่เขียนเรซูเม่เป็นภาษาอังกฤษย่อมมีภาษีดีกว่าผู้สมัคร ที่เขียนเรซูเม่เป็นภาษาไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สมัครควรเขียนเรซูเม่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงให้นายจ้างเห็นถึงความสามารถด้านภาษาของคุณ
    ที่มา: http://th.jobsdb.com/TH/TH/V6HTML/campus/resume-tips/resume-tips02.htm

    วิธีพรีเซนต์ตัวเองในการสัมภาษณ์งาน

    สัมภาษณ์ งาน
    พนักงานขายที่ดีไม่ใช่คนที่กดดันคุณจนคุณต้องยอมซื้อสินค้านั้นในที่สุด แต่เป็นคนที่พยายาม
    ทำความเข้าใจกับความต้องการของคุณ และอธิบายให้คุณเห็นถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ตอบโจทย์ตรงกับ
    ความต้องการของคุณ พวกเขาไม่ใช่คนที่ต้องการเงินจากคุณ แต่เป็นคนที่จะให้ความพึงพอใจกับคุณ
    ต่างหาก
    ในการสมัครงานก็เช่นกัน เมื่อสิ่งที่ต้องการจะขายนั้นคือ ตัวของคุณเอง  กระบวนการสัมภาษณ์งานก็ เป็นการขายประเภทหนึ่ง ถ้าคุณไม่ได้เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี คุณก็ไม่สามารถทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นถึงคุณสมบัติและข้อดีที่คุณมีได้ ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณไม่สามารถจูงใจให้เขา “ซื้อ” สินค้าที่คุณนำเสนอได้
    ผู้สมัครงานจำนวนมากไม่ได้เตรียมตัวสำหรับการพรีเซนต์ตัวเองมากพอ ถึงแม้ว่าการเขียนเรซูเม่ของเขาจะดูน่าสนใจ และแม้ว่าเขาแต่งกายดูดีน่าประทับใจ แต่ถ้าเขาไม่สามารถโน้มน้าวผู้สัมภาษณ์ให้เชื่อว่าเขาคือคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นมากที่สุดแล้วล่ะก็ เขาก็ไม่สามารถปิดการขายได้
    ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณที่ต้องเตรียม ได้แก่ ประวัติการทำงาน ทั้งงานเต็มเวลา งานล่วงเวลา และงานที่ทำในช่วงปิดเทอม ประวัติการทำงานอาสาสมัครหลังเลิกงานหรือในเวลาว่าง ประวัติการศึกษา ประวัติการทำกิจกรรม ประวัติการรับรางวัลต่าง ๆ ประวัติการเกณฑ์ทหารในกรณีที่คุณเป็นผู้ชาย ความสามารถทางภาษา และความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
    เมื่อคุณเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองพร้อมแล้ว สิ่งต่อไปที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการทราบก็คือ ทัศนคติของคุณ โดยคุณต้องเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถามต่อไปนี้ด้วย

    1. ความสำเร็จใดที่คุณภาคภูมิใจมากที่สุด เพราะอะไร
    2. เคยทำสิ่งผิดพลาดหรือไม่ เกิดอะไรขึ้น และคุณได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนครั้งนั้น
    3. คุณมีปฏิกิริยาต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่าคุณอย่างไร ในที่นี้รวมถึง เจ้านาย ครูอาจารย์ และพ่อแม่ของคุณด้วย
    4. กีฬาที่คุณชื่นชอบคืออะไร ทำไมคุณถึงชอบกีฬาชนิดนั้น คำตอบของคุณจะสะท้อนความเป็นตัวคุณออกมาว่าคุณเป็นคนที่ชอบเอาชนะ หรือเป็นคนที่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ คุณเป็นผู้แพ้ที่ดี หรือเป็นผู้ชนะที่แย่
    5. เพื่อน ๆ ของคุณเป็นคนแบบไหน คุณคบเฉพาะเพื่อนที่มีนิสัยคล้ายกับคุณหรือว่า คุณชอบคบกับคนหลาย ๆ แบบ มีอะไรบ้างที่สามารถบั่นทอนความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อน หรือสิ่งที่จะทำให้คุณเลิกคบกับเพื่อนได้
    6. ถ้าถามเพื่อนของคุณ หรือคนที่คุ้นเคยกับคุณ ให้บอกถึงความเป็นคุณ พวกเขาจะบอกว่าคุณเป็นคนอย่างไร
    คำตอบของคำถามเหล่านี้จะสามารถบ่งบอกความเป็นตัวคุณได้เป็นอย่างดี ยิ่งคุณรู้จักตัวเองดีเท่าไร คุณจะสามารถนำเสนอจุดเด่นที่ตรงกับความต้องการของผู้สัมภาษณ์ได้มากเท่านั้น  ดังนั้น ทำความรู้จักกับตัวเองให้มาก แล้วเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่ตอบยากเอาไว้ให้พร้อม ลองคิดถึงคำตอบแล้วมองย้อนกลับว่า ถ้าคุณเป็นผู้สัมภาษณ์คุณจะรู้สึกอย่างไรกับคำตอบนั้น เขาจะมองว่าคุณเป็นคนเช่นไร ใช่คนที่เขาต้องการหรือไม่ เพื่อที่คุณจะสามารถพรีเซนต์ตัวเองได้ตรงใจนายจ้างมากที่สุดนั่นเอง
    ที่มา: http://th.jobsdb.com/TH/TH/V6HTML/JobSeeker/article/mar09-02.htm

    ฝ่าด่าน 10 คำถามโหด สัมภาษณ์งาน


    ฝ่าด่าน 10 คำถามโหด สัมภาษณ์งาน

    เคยไหมที่รู้สึกตื่นเต้น ประหม่า และกลัวแบบไม่มีสาเหตุเมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์งาน แถมบ่อยครั้งที่เจอคำถามง่ายๆ แต่ไม่รู้จะตอบอย่างไร


    หลัก ในการตอบคำถามสัมภาษณ์ ควรตอบให้ตรงประเด็น กระชับ ได้ใจความ มีความคิดสร้างสรรค์รวมถึงยกตัวอย่างเพื่อให้คำตอบชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญข้อมูลต้องถูกต้องและเป็นความจริง ซึ่งโดยทั่วไปการสัมภาษณ์งานส่วนใหญ่จะใช้เวลาตั้งแต่ 20 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และตำแหน่งงานของผู้สมัคร นอกจากการเตรียมตัวตอบคำถาม ควรให้ความสำคัญเรื่องการแต่งกายและความตรงต่อเวลาด้วย

    นี่คือสิบ คำถามโหดที่ต้องผ่านไปให้ได้ ลองอ่านคำแนะนำในการผ่านด่านอรหันต์เป็นแนวทาง แล้วนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับรูปแบบการสัมภาษณ์ของตัวเอง อย่าลืมว่า 10 คำถามนี้ไม่มีคำตอบใดที่ถูกหรือผิด เพราะล้วนแต่เป็นคำถามที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติต่างๆ เกี่ยวกับงาน ที่จะบ่งบอกความฉลาดในตัวคุณ

    ที่สำคัญ หากมีการเตรียมพร้อมและซ้อมมากเท่าไหร่ ความมั่นใจก็มากขึ้นเท่านั้น เหมือนอย่างที่สามก๊กกล่าวไว้ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง


    ด่านหิน ที่เตรียมฝึกวิทยายุทธ์ไปได้เลย

    1. ช่วยเล่าเกี่ยวกับตัวคุณให้เราฟัง

    Do
    ใช้ เวลาเพียง 2-3 นาทีสั้นๆ แบบกระชับได้ใจความ บอกเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงเป็นผู้สมัครที่ดีที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้ รวมถึงยกตัวอย่างให้ฟังเพื่อช่วยอธิบายและเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเรา

    เช่น "หลังจากเรียนจบด้านบัญชีและทำงานที่บริษัทตรวจสอบบัญชีมา 5 ปี ทำให้เป็นคนทำงานเร็วและละเอียดรอบคอบ เพราะการตรวจสอบบัญชีแต่ละครั้งมีระยะเวลากำหนดชัดเจนว่ากี่วันหรือกี่ สัปดาห์ ทั้งยังฝึกความเป็นผู้นำ เพราะต้องดูแลน้องในทีมที่ออกตรวจงานด้วยกัน รวมถึงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี สิ่งเหล่านี้ทำให้ดิฉันได้รับมอบหมายดูแลงานโปรเจคใหญ่ๆ อยู่เสมอ"

    Don't
    การ เล่าทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเอง ตั้งแต่จบประถม มัธยม เข้ามหาลัย จนทำงาน แต่ไม่มีจุดเด่นอะไรเพียงพอที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกสนใจในตัวคุณ


    2. ทำไมคุณถึงคิดว่าเหมาะกับงานนี้

    Do
    โอกาส มาถึงแล้ว อย่ากลัวที่จะพูด อาจจะเริ่มจากประสบการณ์และความสามารถที่เคยผ่านมา อันเป็นสาเหตุทำให้คุณเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้ แล้วต่อด้วยเหตุผล ตัวอย่าง กรณีศึกษา สิ่งที่เป็นจุดเด่นและแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่น

    กรณี ที่เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆ ถ้าสมัยเรียนทำกิจกรรมมาเยอะ เช่น ออกค่าย ฝึกงาน โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ฯลฯ อย่าลังเลที่จะบอกเล่าว่ากิจกรรมเหล่านั้น ทำให้ตัวเองเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นง่าย รู้จักปรับตัว ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และเรียนรู้เร็ว เป็นต้น

    หากตกที่ นั่งเด็กเรียน ไม่ค่อยสนใจกิจกรรม ให้ตอบว่าเป็นคนที่ทุ่มเทกับเรื่องที่ได้รับผิดชอบ เช่น เรื่องเรียนหรือรายงานกลุ่ม อาจยกเกรดเฉลี่ยเลขสวยๆ มาเป็นตัวอย่าง หรือวิธีการเลือกวิชาเรียน ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมตัว วางแผนการเรียนมาเป็นอย่างดี

    Don't
    การ ตอบคำถามสั้นๆ เช่น "ด้วยประสบการณ์ทำงาน 2 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าสามารถทำงานนี้ได้" แล้วจบทันที ในกรณีนี้ คุณอาจจบเห่ เพราะไม่มีเหตุผลและตัวอย่างที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์เชื่อและมั่นใจในตัวคุณ



    3. ตามความเข้าใจของคุณ คิดว่าตำแหน่งนี้ต้องรับผิดชอบงานอะไรบ้าง

    Do
    ทำ การบ้านก่อนมาสัมภาษณ์ด้วยการอ่านรายละเอียดของงานและคุณสมบัติของผู้สมัคร ที่ทางบริษัทต้องการ ทำความเข้าใจกับมัน ตอบให้สั้นและกระชับใจความ สิ่งสำคัญก่อนตอบต้องมั่นใจว่าเข้าใจ ถ้าไม่แน่ใจส่วนไหนไม่ต้องกลัวที่จะถาม อาจตั้งคำถามกลับในทำนองว่า เข้าใจตำแหน่งงาน แต่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับข้อมูลกลุ่มลูกค้า และผลิตภัณฑ์มากนัก อยากให้ช่วยอธิบายให้เข้าใจในเบื้องต้น

    Don't
    ถ้าไม่รู้ อย่าพยายามตอบ เพราะถ้าตอบผิด นั่นหมายความว่าคุณไม่ได้ทำการบ้านมา ไม่ได้ให้ความสนใจกับงานนี้ แถมยังมั่วอีกต่างหาก


    ผ่าน 3 ด่านอรหันต์มาได้ ที่เหลือไม่น่ายากเกินความสามารถ


    4. คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง

    Do
    ก่อน มาสัมภาษณ์งาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบและเข้าใจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับองค์กรที่สมัคร เช่น ผลิตภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า คู่แข่ง ภาพลักษณ์องค์กร ที่มาและประวัติขององค์กร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คุณได้ทำการบ้านมา และให้ความสนใจกับองค์กรอย่างแท้จริง อย่าลืมย้ำตอนท้ายด้วยว่า หลังจากที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์กร ทำให้เรามีความสนใจที่อยากจะทราบเกี่ยวกับองค์กรเพิ่มเติม

    Don't
    การ ตอบแบบมั่นใจในตัวเองจนเกินไป หรือคำตอบที่สร้างภาพพจน์ไม่ดีให้กับตัวเอง เช่น "ทราบมาว่าที่นี่กำลังขาดผู้จัดการฝ่ายการตลาด ด้วยประสบการณ์งาน 3 ปีในด้านนี้ ทำให้คิดว่าสามารถแก้ปัญหานี้ได้" คำตอบอย่างนี้นอกจากไม่สร้างทัศนคติที่ดีขององค์กรให้กับตัวเองแล้ว ยังเป็นการโอ้อวดตัวเองเกินไป


    5. อะไรคือจุดมุ่งหมายระยะยาวในการทำงานของคุณ

    Do
    พูด ถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต และต้องบอกวิธีที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งควรจะเกี่ยวข้องกับงานที่สัมภาษณ์อยู่ เช่น อีก 5 ปีข้างหน้าอยากเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่เต็มไปด้วยศักยภาพและความสามารถ ในการพัฒนาพนักงานและองค์กรให้มีประสิทธิภาพ การที่จะถึงจุดนั้นได้ต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี เช่น การได้มีโอกาสทำงานที่บริษัทนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งในการเตรียมตัวสำหรับอนาคต และอาจเพิ่มเติมตัวอย่าง เช่น วิธีการทำงานของตน เป็นต้น

    Don't
    การ ตอบในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัครอยู่ (ถึงแม้จะเป็นความจริง) เพราะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เช่น อยากเปิดร้านอาหารในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าตอบเช่นนั้น อาจโดนถามต่อว่าแล้วมาสมัครงานที่นี่ทำไม


    6. ถ้าได้งานนี้ คุณคิดว่าจะทำงานที่นี่นานเท่าไหร่

    Do
    ให้ มุ่งประเด็นไปที่ความทุ่มเทของตัวเองและความท้าทายของงาน ด้วยการบอกว่าตราบใดที่งานมีความยากและท้าทาย ก็จะขอจะทุ่มเทความสามารถของตัวเองให้เต็มที่เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับ องค์กร

    Don't
    บอกแผนการหรือระยะเวลา (ซึ่งเป็นความจริง) เช่น มีแผนไปเรียนต่ออีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือ ทางบ้านมีแผนให้ไปช่วยธุรกิจที่บ้าน


    7. อะไรคือจุดอ่อนของคุณ

    Do
    ควร เลือกจุดอ่อนที่เป็นความจริงและกำลังปรับปรุงหรือพัฒนาในขณะนี้ ที่สำคัญควรบอกผลลัพธ์หลังการปรับปรุงด้วย เช่น ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ซึ่งตอนนี้กำลังเรียนภาษาอังกฤษอยู่ เรียนมานานเท่าไหร่ ที่ไหน และผลการเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

    Don't
    มี หลายคนเคยบอกว่าให้เปลี่ยนจุดแข็งให้เป็นจุดอ่อน เช่น เป็นคนทำงานหนักมากๆ ไม่เสร็จไม่กลับ อาจจะฟังดูดี แต่คุณกำลังทำลายตัวเอง เพราะปัจจุบันนี้การรู้จักจัดสรรเวลา (work life balance) เป็นประเด็นสำคัญของคุณภาพชีวิต อีกอย่างคุณกำลังโกหกเพื่อให้ดูดี แถมตอบผิดประเด็นอีกต่างหาก


    8. ทำไมคุณถึงลาออกจากงานเก่า

    Do
    ตอบ ความจริงให้มากที่สุด แต่สั้นกระชับใจความ ไม่จำเป็นต้องตอบทั้งหมดถ้าความจริงมันเลวร้ายเหลือเกิน อย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์อาจขออนุญาตติดต่อบุคคลอ้างอิงเพื่อทำการตรวจสอบ ข้อมูลเหล่านั้น

    Don't
    ควรหลีกเลี่ยง การวิจารณ์ที่ทำงานและนายเก่า เพราะเหล่านี้จะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณดูแย่ และนั่นหมายถึงความกล้าที่จะวิจารณ์บริษัทต่อๆ ไปที่คุณร่วมงานด้วย


    9. อะไรคือสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบในงานเก่า (หรืองานที่กำลังทำอยู่)

    Do
    ควรบอกสิ่งที่ชอบมากกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ และให้คำอธิบายรวมถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงคิดเช่นนั้น

    Don't
    บอก ในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องงานหรืออ้างอิงถึงบุคคล เพราะนั่นหมายถึงคุณกำลังวิจารณ์คนอื่น ไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่างที่แย่ๆ เกี่ยวกับงาน เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา


    10. อะไรคือสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต

    Do
    ควร จะเป็นเรื่องที่รู้สึกภูมิใจที่สุดในช่วง 1-2 ปีของการทำงาน คุณอาจพูดถึงการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งในการทำงาน หรือตลอดระยะเวลาที่ทำงานมามีแต่ความราบรื่นไม่เคยมีปัญหากับลูกค้า

    หาก คุณมีความสำเร็จชัดเจน เช่น สามารถทำยอดการขายได้ทะลุเป้า 200% หรือ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 25% ให้เล่าที่มาของเรื่องนั้น วิธี แนวดำเนินการ ผลลัพธ์ ตลอดจนอุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมถึงวิธีการแก้ปัญหา

    ถ้าเป็นผู้สมัครที่เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆ อาจจะพูดถึงเกรดเฉลี่ย หรือความภาคภูมิใจที่สามารถสอบเข้ามหาลัยที่มีชื่อเสียงได้

    Don't
    การ แต่งเรื่องขึ้นเองหรือพูดเกินจริงกว่าสิ่งที่ได้ทำ ส่งผลให้วิธีการเล่าแตกต่างไป ซึ่งผู้สัมภาษณ์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะสามารถตั้งคำถามต้อนจนจับได้ว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น


    Guru Tips
    *บริษัทบางแห่ง คำถามเหล่านี้จะถูกถามเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นถ้าจะให้ดี ควรฝึกตอบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

    *ก่อน เข้าสู่ด่านอรหันต์ปราบเซียน ควรฝึกซ้อมหน้ากระจกก่อน เพื่อตรวจบุคลิกภาพ ที่สำคัญต้องมี eye contact หรือสบตาผู้สัมภาษณ์ อย่าหลบตาหรือมองเพดานเวลาสัมภาษณ์ แม้กระทั่งการนั่งเท้าคางหรือเท้าโต๊ะ ก็เป็นการทำให้คะแนนบุคลิกภาพลดลงอย่างน่าใจหาย


    ทำไงดี เจอเจ้านายต่างชาติ
    * บริษัทญี่ปุ่น อยากเห็นว่าที่พนักงานที่มีความนิ่ง อดทน อ่อนน้อมถ่อมตน แต่มีความมั่นใจในตัวเอง พูดจาไม่เยิ่นเย้อ สั้น กระชับ และหากสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ รับรองได้เปรียบกว่าเห็นๆ

    * บริษัทฝรั่ง (International Firms) ส่วนใหญ่อยากได้เด็กที่มีความมั่นใจ กล้าพูดกล้าคิด ไฟแรง ทุ่มเท แต่ก็มีชีวิตด้านอื่นด้วยนะ อย่างเช่น มีงานอดิเรกทำ มีเที่ยวเล่นบ้างแต่ก็ทำงาน อีกอย่างที่สำคัญเลย บุคลิกภาพ ต้องดูมั่นใจ ดูคล่อง ฉะฉาน พูดภาษาอังกฤษได้


    ขอบคุณข้อมูล นิตยสารสุดสัปดาห์ Column: Career Focus No.586 (1 July 2007)
    ที่มา:http://women.sanook.com/work/www/www_42587.php

    เทคนิคการสัมภาษณ์งาน !!(จากสำนักจัดหางาน)




    1. คำถามทั่วไปที่ผู้สัมภาษณ์นิยมใช้

    - ทำไมคุณคิดว่าคุณจะรู้สึกพอใจ เมื่อได้ทำงานในตำแหน่งนี้

    ควร ตอบว่าเป็นงานที่มีความก้าวหน้า เป็นงานที่ทำได้ทำในสิ่งที่เรียนมา เป็นงานที่ชอบมานาน กิจการดีมีความมั่นคง ได้ยินว่ากิจการมีชื่อเสียงที่สุดด้านนี้หรืออยากทำงานในกิจการเล็ก ๆ ที่อบอุ่น มีโอกาสเรียนรู้งานได้มาก

    - เคยมีประสบการณ์งานด้านนี้หรือไม่ มีหรือไม่มีประสบการณ์ก็

    ให้ ตอบตามความเป็นจริง หากผู้สมัครงานเคยมีประสบการณ์มาก่อนก็จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้สมัครงานเอง หากไม่มีก็ควรบอกว่ามีประสบการณ์อื่นที่ใกล้เคียงหรือเคยฝึกงานมา หรือเคยทำงานแบบนี้กรณีไม่มีประสบการณ์ใด ๆ เลยก็ควรบอกไปตรง ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้เพราะมีใจชอบงานลักษณะนี้

    - ใช้คอมพิวเตอร์ หรือพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้หรือไม่

    ทำได้หรือไม่ควรตอบไปตามความจริง หากไม่ได้ควรตอบว่ากำลังจะไปเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะรู้ว่าจำเป็นและมีประโยชน์ในการทำงานมาก

    - ทำไมจึงออกจากงานเดิมที่ทำอยู่ หรือทำไมจึงคิดเปลี่ยนงาน

    ไม่ ควรตำหนิที่ทำงานเดิม แม้จะทราบว่าที่ทำงานเดิมเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่ทำงานใหม่ที่กำลังสมัครงาน เพราะจะถูกมองในแง่ลบ ควรตอบว่าไม่ชอบบรรยากาศหรือวิธีการทำงานแบบธุรกิจ หรืออะไรที่กว้าง ๆ และเน้นว่า คิดว่าที่ทำงานใหม่จะให้โอกาสและประสบการณ์ที่ดีกว่า หรือต้องทำงานที่ท้าทายกว่า

    - สิ่งที่เรียนมาไม่ตรงกับงานที่ทำ และจะทำงานได้อย่างไร

    ควรยอมรับความจริงว่าใช่ ไม่ตรงจริง ๆ แต่ผู้สมัครงานมีความสนใจในงานลักษณ์นี้มากกว่างานที่ตรงกับความรู้ที่เรียนมาจริง ๆ

    - อยากจะถามอะไรเกี่ยวกับบริษัทบ้างไหม ไม่ควรตอบว่าไม่มี

    แต่ ควรถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบในงานที่ผู้สมัครงานต้องทำ หรือถามเกี่ยวกับบริษัท ให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความสนใจในกิจการของบริษัท หรือถามเกี่ยวกับสวัสดิการ โครงการฝึกอบรมของบริษัท เพื่อให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความต้องการ มีจุดประสงค์ใดบ้างในอนาคต

    - ต้องการเงินเดือนเท่าไร ไม่ควรตอบว่าไม่รู้ แต่ควรตอบว่าไม่

    ต่ำ กว่าเท่าไร โดยสอบถามอัตราเงินเดือนของพนักงานระดับนี้ จากคนรู้จักหรือกิจการใกล้เคียงหรือเพื่อนฝูง ผู้สมัครงานควรต้องรู้ว่าตัวเองต้องได้เงินเดือนเท่าไรจึงจะสามารถดำรงชีพ ได้และมีเงินเหลือเก็บบ้าง หากไม่รู้จริง ๆ ว่าตนเองต้องการเงินเดือนเท่าไรจึงจะเหมาะสม ควรตอบว่าแล้วบริษัทจะเห็นสมควรขอให้ดูความสามารถก่อน จะพยายามทำงานอย่างเต็มความสามารถ

    กรณีไม่เข้าใจคำถาม ควรบอกผู้สัมภาษณ์ไปตรง ๆ ให้ถามคำถามใหม่อีกครั้ง และหลังจาการสัมภาษณ์แล้ว ควรมีการติดตามข่าวว่าได้งานหรือไม่แม่บริษัทจะบอกว่าจะติดต่อกลับมาเอง เพื่อแสดงความสนใจจริงที่ต้องการจะทำงานบริษัทนั้น ๆ


    2. ข้อที่ควรปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์งาน

    - ศึกษารายละเอียดของบริษัทก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อจะได้มีเรื่องสนทนาขณะสัมภาษณ์และเป็นการแสดงความสนใจที่มีต่อบริษัท

    - ไปรับการสัมภาษณ์ตรงตามเวลา โดยไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที หากไปช้าหรือไปไม่ได้ต้องรีบโทรศัพท์เพื่อขอเลื่อนนัดการสัมภาษณ์ออกไป

    - นั่งรออย่างเรียบร้อย ไม่ควรเดินไปเดินมาหรือส่งเสียงดัง

    - ควรยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์ ขณะเริ่มทักทายและกล่าวคำว่า “ สวัสดี ”

    - ควรถามผู้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับงานที่จะให้ทำว่าจะให้ทำอะไร ทำที่ไหน ถ้าไม่มีคำถามเลยผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่าผู้สัมภาษณ์ไม่มีความสนใจในงานที่จะ สมัคร แต่ไม่ควรถามมากจนผู้สัมภาษณ์รำคาญ

    - พูดให้ชัดเจนมีความเป็นธรรมชาติ และด้วยความมั่นใจ

    - ใช้กริยา วาจาสุภาพขณะตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์อาจใช้วิธีแหย่ให้โกรธ หรือใช้คำพูดดูถูก เพื่อดูอารมณ์ของผู้สมัครงานขณะที่โมโห หรือไม่พอใจ ดังนั้นผู้สมัครงานต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

    - แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่พับแขนเสื้อทั้งแขนยาวและแขนสั้น

    - ควรตัดผมสั้นไม่ปล่อยไว้จนยาว และโกนหนวดให้เรียบร้อย (สำหรับผู้ชาย)

    - ควรใส่รองเท้าให้เรียบร้อย และไม่ควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าสานหรือรองเท้าแตะ ไม่ควรใส่ถุงเท้าสีสด ๆ หรือสีที่เป็นจุดเด่น

    - ควรมองหน้าผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรหลบตาและนั่งตาลอย มองนอกหน้าต่าง มองโต๊ะหรือแสดงอาการขวยเขิน

    - ถ้าจะไอควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก และกล่าวคำขอโทษ ขณะสัมภาษณ์ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง

    - ถ้าประตูห้องปิดควรเคาะประตูก่อนเข้าห้อง และกล่าวขออนุญาตนอกจากนั้นต้องระวังอย่าลากเก้าอี้ให้มีเสียงดัง

    - คำถามที่ควรถามผู้สัมภาษณ์คือ ถามว่าในสายตาของผู้สัมภาษณ์เราเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขอย่างไร บ้าง เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครงานในครั้งต่อไป

    หลัง จาการสัมภาษณ์แลัว สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้พิจารณาผู้สมัครงานจะพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ ความประทับใจครั้งแรก ความฉลาด มีไหวพริบ ความคิดริเริ่ม ความกระตือรือร้น ความขยันหมั่นเพียร ความสามารถในการสื่อข้อความ และมีจุดมุ่งหมายของชีวิต

    หวัง ว่าหลังจากที่ได้ทราบถึงวิธีการเลือกงานให้เหมาะสมกับตนเองแล้ว การเตรียมตัวสมัครงาน วิธีการสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน คำถามและข้อปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์งานแล้ว จะสามารถช่วยทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการสมัครงานและสัมภาษณ์งานทุก ท่านน่ะค่ะ
    ที่มา: http://blog.eduzones.com/choticmu/21034

    10 คำถามมาตรฐานของการสัมภาษณ์งาน ที่คุณจะต้องผ่านให้ได้ (ตอนจบ)

    สุดท้าย ผมขอเล่าให้ฟังว่า เคยมีการสำรวจ เมื่อไรก็จำไม่ได้แล้ว เค้าพบว่า ส่วนมากนั้น คนสมัครหน้าใหม่ ที่มักจะเพิ่ฝเรียนจบนี่ล่ะ  ไม่ได้งานเพราะ “คิดไม่ผ่าน” ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน  ก็เลยจำเป็นที่คนที่จะเตรียมตัวไปสัมภาษณ์งานที่ใดก็ตาม จะต้องรู้จักเคล็ดวิชาการสัมภาษณ์งานให้ได้งานในเรื่องของ “การเตรียมความคิดและเตรียมใจ” ด้วยเช่นกัน  ซึ่ผมมีคำแนะนำดังนี้ครับ
    อย่าได้ตื่นเต้นมากไป
    เราไม่ได้ตื่นเต้นจากคำถาม ส่วนใหญ่ตื่นเต้นจากบรรยากาศ
    แต่ว่าความตื่นเต้นไปเรื่องธรรมดาสามัญครับ  เพียงแต่ต้องหัดระงับไว้ให้ได้เท่านั้น  วิธีที่ดีในการระงับอารมณ์ตื่นเต้นที่มักจะทำให้คุณประหม่าเวลาไปสัมภาษณ์ก็ ได้แก่ การกวาดสายตาไปรอบ ๆ ห้องสัมภาษณ์และทำสมาธิ สูดหายใจลึก ๆ สัก 2-3 ทีเพื่อเรียกความมั่นใจ  ลองขยับหาอิริยาบถที่ทำให้นั่งสบาย จะช่วยได้มากครับ 
    ต่อมาก็อย่าคิดว่ามันไปการสัมภาษณ์งานกับผู้หลักผู้ใหญ่ขององค์การซะก็ ช่วยได้  ลองคิดสิครับว่า คนที่มาสัมภาษณ์งานคุณนั่นล่ะคือคนที่จะต้องเป็นพี่เลี้ยงที่คอยสอนงานให้ คุณ  เค้าจะต้องรู้จักคุณให้ดีแทบจะทุกแง่มุม  โดยเฉพาะทัศนคติและตัวตนของคุณ  ซึ่งจริงจริงก็เป็นแบบนั้นเสียเป็นส่วนใหญ่  ขอให้จินตนาการไปว่า คุณจะต้องคุยกับพี่เลี้ยงสิครับ  เพียงแต่ให้รักษามารยาทให้ดีงาม  ไม่ควรที่จะพูดแบบเป็นกันเองเกินไป     
    แม้บริษัทจะเป็นฝ่ายเลือกเรา  แต่เราก็เป็นฝ่ายเลือกเขาด้วยเหมือนกัน
    คนทำงานที่ก้มหน้าก้มตารับเงื่อนไขโดยไม่มีการเจรจาต่อรอง หรือการซักถามอะไรเพื่อที่จะพยายามให้จบการสัมภาษณ์อย่างเร็ว ๆ นั้น ไม่ใช่ผลดี คนเราทำงานมากกว่า 1 ใน 3 ของวัน การได้ทำงานในที่มีบรรยากาศในการทำงานแย่ เครียด และได้เงินไม่คุ้ม(ค่ากิน ค่าเดินทาง) การขายหมูปิ้งหน้าปากซอยบ้านอาจดีกว่า ! ดังนั้น อย่าปล่อยให้เขาเลือกเรา เราควรเลือกเขาไปด้วยพร้อมๆ กัน
    ยิ่งอยากได้งาน บางที่ก็ยิ่งทำให้พลาดงานไปอย่างน่าเสียดาย 
    ในงานขายตรง เขาสอนกันไว้ชัดเจนเลยว่า “อยากขายได้ จะขายไม่ได้” นั้นก็เพราะขณะที่เราอยากได้อะไรสักอย่าง รังสีอำมหิตก็เปล่งประกายจ้าจนมองเห็นได้จากสายตา … การสมัครงานก็เช่นกัน ผู้สัมภาษณ์จะเลือกเราเพราะเราเหมาะกับงานของเขา ไม่ใช่เพราะเราอยากมาทำงาน สิ่งที่เราควรจะต้องสะท้อนออกมาให้ได้ก็คือ การพร้อมที่จะทำงาน และเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เราสมัครเข้ามา   
    การสัมภาษณ์งาน คือ การแสดง (หรือไม่ก็ การประกวดนางงาม)
     คุณเคยทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่หรือคนแปลกหน้าไหม … เอาอย่างนี้ดีกว่า คุณเคยจีบ หรือ เคยโดนจีบไหม มันเป็นไปไม่ได้หรอกกับคำถามไม่กี่ข้อ คำพูดไม่กี่คำ จะทำให้ “เรา” รู้จักกันจนหมดไส้พุง การสัมภาษณ์งานก็เหมือนกัน วางฟอร์มไว้หน่อย ไม่เสียหลาย ดีกว่า “ปล่อยไก่” ตั้งแต่แรกพบ
     ถึงไม่มีประสบการณ์ก็อย่าได้ท้อ 
    บริษัทที่ผมร่วมงานในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในอีกหลายบริษัทที่ยินดีรับพนักงานที่เพิ่งเรียนคนจบมา ทำไมหรือครับ
    ผมเองมองว่า คนที่จบมาใหม่มักจะไม่ใช่พวกคนที่เป็น “น้ำเต็มแก้ว”  เพราะยังไม่ได้เติมอะไรลงไปในชีวิตการทำงานของเขามากนัก  นอกเสียจากตัวตนของเขาซึ่งผมก็เชื่อเช่นกันว่า เขาต้องปรับให้เข้ากับองค์การให้ได้อยู่แล้ว เพราะไม่เช่นนั้นก็เท่ากับเขาได้ทุบหม้อข้าวจานชามของตัวเองไปเสีย  ในขณะที่คนที่มีประสบการณ์แม้จะมีข้อดีอย่างนึง  ที่รู้งานหรือมาต่อยอดในการทำงานได้ไม่ยากนัก ไม่ต้องฝึกสอนกันมาก  แต่ก็เสี่ยงในแง่ที่องค์การจะต้องเลือกคนที่มีทัศนคติแบบที่องค์การต้องการ จริง ๆ หรือเปล่า และก็เป็นธรรมดาที่คนที่มีประสบการณ์การทำงานมาก จะขีดเส้นตัวตนของตัวเองไว้ในระดับหนึ่ง เป็นพรมแดนที่ห้ามแตะ เพราะความคุ้นเคยกับการทำงานมานาน จึงเกิดอุปนิสัยบางอย่างที่ไม่เป็นที่ต้องการของสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น คนที่ทำงานผ่านโครงสร้างองค์การและระบบงานที่เน้นการควบคุม ก็จะติดระเบียบ หรือข้อกำหนดต่างๆ  หรือภาษาชาวบ้านก็คือ พวกบ้า Flow การทำงาน  อะไรนิดหน่อยที่เอาขั้นตอนการทำงานมาว่ากันซิ 
    และสุดท้ายคนกลุ่มนี้ก็ไม่ค่อยที่จะยืดหยุ่นหรือเรียนรู้ รับรู้อะไรใหม่ ๆ 
    ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งก็คือ ในโลกของความเป็นจริง น้อง ๆ หลายคนที่เริ่มทำงานและอยู่กับแฟนที่คบกันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย  มักจะถูกสภาวะแบบครอบครัวกลืนให้เป็นคนที่ “ไปเรื่อย ๆ” ไม่ค่อยสนใจเรื่องความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเท่าไรนัก เว้นเสียแต่ น้อง ๆ บางคนที่มีความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมในการสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งคนกลุ่มนี้ ผมเชื่อว่าแทบจะทั้งนั้น มุ่งมั่นเรื่องงานมากกว่าเรื่องแฟน ทำนอง “งานเป็นใหญ่ หัวใจเป็นรอง”
    ผมขอแนะนำให้ดูความแตกต่างของคนเหล่านี้ในขณะที่รอสัมภาษณ์ โดยวางหนังสือ 2-3 เล่ม ประกอบด้วย                              (1) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  (2) หนังสือพวกนินทาดารา หรือนิตยสารบันเทิง  (3) National Geographic หรือหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสัปดาห์    เอาไว้และดูว่าเขาจะหยิบอะไรมาอ่านระหว่างรอสัมภาษณ์  หากเขาหยิบ (1) (2) เชื่อว่าเขามีแนวโน้มแบบไม่ค่อยสนใจความเคลื่อนไหวของโลกที่มากไปกว่าเรื่อง ละควรน้ำเน่ากับเรื่องดาราเลิกกัน  ตรงข้ามกับการหยิบรายการที่ (3) มานั่งอ่านอย่างสนใจ  ถ้าให้ผมให้คะแนน คนที่ทำอย่างหลัง จะได้คะแนนมากกว่า 
    แม้ว่าองค์การแทบจะทั้งนั้นต้องการคนมีประสบการณ์ แต่ข้อพึงระวังก็คือ คนทำงานที่มีประสบการณ์เหล่านี้  มักรู้ว่าจะต้องตอบอย่างไรเพื่อให้ได้งาน เว้นแต่พวกที่ทัศนคติแย่จริงจริง ซึ่งไปสัมภาษณ์งานที่ไหนก็คงไม่มีใครรับ  เช่น ด่าที่ทำงานเก่า  หรือหัวหน้างานคนเก่า  เป็นต้น   นี่เป็นข้อคิดที่ผมเตือนไปยังเหล่า Recruiter มือใหม่ทั้งหลายที่อาจจะหลงไปได้ง่าย ๆ  และจะเป็นที่น่าเสียดายยิ่งสำหรับองค์การ
    ว่ากันมาเสียยืดยาวหลายตอน  ผมเชื่อว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งคนหางานและคนที่ทำงานสัมภาษณ์บุคลากรไม่มาก็น้อย ล่ะครับ  ท่านที่มีข้อแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องนี้  แนะนำมาได้ครับ
    ที่มา:  http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2635

    รายการบล็อกของฉัน