หวย หวยออนไลน์ Jetsadabet

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการสมัครงานทางอินเตอร์เน็ต

สมัครงานทางอินเตอร์เน็ต  

สมัครงานทางอินเตอร์เน็ตนับเป็นอีกช่องทางในการสมัครงานน้องใหม่ไฟแรงสูงและดูท่าว่าจะไม่มีทางมอดลง ง่ายๆ ซะด้วย ทั้งลูกจ้างและผู้สมัครงานต่างให้การตอนรับอย่างท่วมท้น ประสบความสำเร็จมาแล้วหลายต่อหลายคน แต่นั่นแหละ เมื่อสามารถอำนวยความสะดวกอย่างมากแล้ว ปัญหาปลีกย่อยๆ จึงมากมายเป็นเงาตามตัว....แต่คุณจะไม่ “พลาด” แน่ หากยังตั้งใจอ่านต่อไปนะ


การสมัครงานทางอินเตอร์เน็ตมี 3 แบบ
1. สมัครผ่านเว็บไซต์จัดหางาน
ปัจจุบันนี้มีบริการนี้เพิ่มขึ้นมากมาย เช่น
www.jobdb.com,  www.jobthai.com, www.nationejobs.com, www.jobtopgun.com
ซึ่งส่วนใหญ่ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้สมัครทั้งสิ้น  แต่อาจเรียกเก็บค่าบริการจากนายจ้าง  ในกรณีสมัครเป็นสมาชิกเพื่อใช้สิทธิ์เข้าไปค้นใบสมัครตำแหน่งที่ต้องการใน ฐานข้อมูลของเว็บไซต์
คุณสามารถเข้าไปลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกประเภท  Job Seeker  หรือ Employee ของเว็บไซต์ได้  โดยจะได้รับ User Name  พร้อม  Password เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบได้ทันที  หลังจากนั้นก็เริ่มสร้าง Resume ส่วนตัว  ไม่ยุ่งยากเลย เพียงแต่คีย์ข้อมูลส่วนตัวลงไปในช่องต่างๆ จนครบเท่านั้น  Resume ส่วนตัวของคุณก็จะถูกเก็บไว้เป็นหลักฐานข้อมูลเพื่อให้นายจ้างเข้ามาค้นหาดู ได้  และคุณยังสามารถค้นหาตำแหน่งงานที่ต้องการสมัครได้อีกด้วย  เมื่อค้นเจอและต้องการสมัคร  แค่คลิกส่งตามขั้นตอนของแต่ละเว็บไซต์  Resume ของคุณก็จะถูกส่งไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของบริษัทนั้นๆ เพื่อให้บริษัทเข้ามาเปิดดูและนำไปพิจารณา
เพื่อสร้างโอกาสให้กับตัวเองมากที่สุด  คุณควรเข้าไปลงทะเบียนและสร้าง Resume เก็บไว้หลายเว็บไซต์  เพราะแต่ละเว็บไซต์  จะมีบริษัทที่ใช้บริการลงประกาศรับสมัครงานแตกต่างกัน  คุณจึงไม่ควรทิ้งโอกาสดีๆ เหล่านี้
เหมือนกับการขายของนั่นแหละ  โฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากเท่าไหร่  ยอดขายก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

มีบางคนบ่นเข้าหูมาว่า  ลงทะเบียนไว้หลายเว็บ  แต่พอจะเข้าระบบมีปัญญาทุกครั้ง  เพราะคีย์ Password ผิด  การป้องกันปัญหานี้ง่ายมาก ด้วยการใช้ User Name  และ  Password  เดียวกันทุกเว็บกันดีกว่าไหม  ง่ายดี  ไม่สับสน  หรือถ้าอยากใช้หลายๆ ชื่อ  คงต้องจดใส่สมุดบันทึกกันลืมกันแล้วละ
เมื่อคุณเข้าไปสร้าง Resume  เก็บไว้แล้ว  อย่าลืมแวะเวียนเข้าไปเช็คบ้าง  บางบริษัทอาจจะนัดสัมภาษณ์คุณ  ด้วยการส่งจดหมายกลับมายังเว็บนั้น  ที่สำคัญ  หากคุณมีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  หรือที่อยู่  ต้องรีบเข้าไปแก้ไขทันที  เพื่อให้ Resume ของคุณสมบูรณ์  เป็นปัจจุบันมากที่สุด  จะได้ไม่พลาดการติดต่อ...

ข้อดีของการสมัครงานทางอินเตอร์เน็ตคือ  สะดวกและรวดเร็ว  นายจ้างเองก็สะดวกในการพิจารณาใบสมัครทุกใบที่มีรูปแบบเหมือนกัน  ง่ายต่อการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ ของผู้สมัครแต่ละตำแหน่ง  ผู้สมัครเองก็สะดวก  แค่เข้าไปสร้าง Resume เก็บไว้ครั้งเดียวก็สามารถส่งไปสมัครงานได้หลายบริษัท

2. สมัครงานด้วยการส่งอีเมล์ถึงบริษัทโดยตรง
ช่องทางนี้  ใช้สำหรับผู้ไม่ต้องการหรือขี้เกียจนั่งคีย์ข้อมูลลงในฐานข้อมูลของเว็บไซ ต์หางาน  แต่ต้องการส่งจดหมายและ Resume ที่ทำขึ้นเองไปยังบริษัทโดยตรง  สามารถทำได้ค่ะ  ด้วยการค้นหาตำแหน่งงานที่สนใจในเว็บไซต์หางานทั่วไป  คลิกเข้าไปดูรายละเอียดตำแหน่งงานบริษัท  จด E-mail Address ไว้เพื่อส่งใบสมัครไปยังบริษัท หรือคุณอาจเจอตำแหน่งที่น่าสนใจในหนังสือหางานต่างๆ ก็สามารถจด E-mail Address แล้วใช้ส่งวิธีนี้ได้เหมือนกัน
การสมัครงานวิธีนี้  ทำให้นายจ้างรู้จักคุณได้มากกว่าวิธีแรก  เพราะสามารถแนบไฟล์ (Attach  File)  เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความต้องการของคุณ  เมื่อมีข้อดีอย่างนี้  ข้อควรระวังต่างๆ ก็มีมากเช่นกันอย่างแรก  ชื่ออีเมล์ที่ส่ง (Subject)  ควรตั้งเป็นชื่อ
ตำแหน่งที่ต้องการสมัคร  เช่น  “สมัครงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์”  หรือ  “Apply for Public Relation Position” เป็นต้น  เพราะใบสมัครที่เข้าไปยังบริษัทในแต่ละวัน  การันตีได้เลยว่า  ไม่ใช่มีของคุณคนเดียว  และไม่ใช่แค่ตำแหน่งเดียวด้วย  บางบริษัท 1 วันมาเป็นร้อยเป็นพันฉบับ

คุณจะไม่พลาดตั้งแต่แรก  ถ้าตั้งชื่ออีเมล์เป็นชื่อตำแหน่ง  จะป้องกันการตกหล่นสูญหายจากระบบ  ในกรณีที่บริษัทคัดแยกใบสมัครลงโฟลเดอร์ (Folder) จะด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบคนพิวเตอร์ก็อีเมล์ก็ตามแต่  ส่วนใหญ่การแยกหมวดหมู่ใบสมัครมักอ้างอิงตามชื่อตำแหน่ง
เป็นหลักในการจัดเก็บ  ถ้าส่งไปโดยไม่ตั้งชื่ออีเมล์เป็นชื่อตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่จะต้องเสียเวลาคลิกเข้าไปดูใบสมัครของคุณก่อน  ถึงจะรู้ว่าสมัครตำแหน่งอะไร  ถ้าเขาขยันคลิกก็นับเป็นผลบุญที่คุณเพียรทำไว้แต่ชาติปางก่อน  แต่ถ้าเกิดขี้เกียจคลิกเมาส์ซ้าย  แล้วพาลคลิกเมาส์ขวา  กด  Delete  ส่งใบสมัครของคุณลง  Recycle Bin นี่สิ  น่าเศร้า  หมดสภาพตั้งแต่ยังไม่ออกสตาร์ท....น่าเสียดายจริงๆ

สำหรับไฟล์ที่แนบ  (Attach File)  เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาไปกับเมล์  ควรมีแค่ 1 หรือ 2 ไฟล์  (ถ้าเป็นไปได้)  นั่นคือจดหมายนำและ  Resume แค่นี้นับว่าเพียงพอแล้วละในการพิจารณาเบื้องต้น  ไม่ยุ่งยากในการคลิกดู  บางคนแนบมา 4 – 5 ไฟล์  กว่าจะดูเอกสารประกอบครบเสียเวลาไปหลายนาที (ไม่รู้คุ้มหรือเปล่า  ถ้าคุณสมบัติไม่ได้เรื่องอีกต่างหาก)  แถมบางคนขยันแนบเอกสารที่ไม่จำเป็นในการพิจารณาเบื้องต้นไปอีกเพียบ  เช่น  แสกนบัตรประชาชน  สำเนาทะเบียนบ้าน  ใบผ่านงาน  ใบรับรองยกเว้นการเกณฑ์ทหาร  และที่เด็ดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาคือ  ใบสูติบัตรหรือใบแจ้งเกิดนั่นเอง  เอาเข้าไปนั่น  เปิดเข้าไปเห็นแล้วงงไม่หาย  จะส่งมาทำไม?  บอกอีกกี่ครั้ง  นี่แค่พิจารณาเบื้องต้น  ถ้าผ่านเรียกสัมภาษณ์เมื่อไหร่  เมื่อนั้นแหละที่คุณสามารถนำเอกสารประกอบมาได้ตามใจต้องการ  ไม่มีใครว่าอะไรแน่นอน

อุปสรรคของการส่งไฟล์ประกอบที่เป็นรูปภาพคือเสียเวลาในการโหลด  บางคนแสกนภาพมาด้วยพิกเซลที่สูงเกินพิกัด  คุณที่อ่านถึงตรงนี้อาจมีคำถามเกิดขึ้นในใจ ในเมื่อรู้ว่าเป็นไฟล์อะไร  แล้วเปิดเข้าไปดูทำไม?  ทำไมนะหรือ  มันไม่มีชื่อไฟล์นะซิ  บางไฟล์ใช้ชื่อ  001,____? เป็นต้น  จนปัญญาจริงๆ  เปิดไปพลาง  โมโหไปพลาง  เกิดไปเจอเจ้าหน้าที่ขี้รำคาญเข้า มีหวังใบสมัครโดนลอยแพเกลื่อนแน่  อุตส่าห์หวังดี  คิดเผื่อว่าบางคนอาจจะแสกนจดหมายนำกับ Resume  มาเป็นไฟล์ภาพ  เลยไม่อยากให้เสียโอกาสในการได้งาน

การตั้งชื่อไฟล์ที่แนบประกอบอย่างจดหมายนำและ Resume  สำคัญไม่แพ้การตั้งชื่อเมล์เลย  เมื่อบริษัทเปิดไฟล์พิจารณาใบสมัครแล้ว  เกิดสนใจ  เข้าตา  ไฟล์นั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ในอีกโฟลเดอร์หนึ่งทันที  ชื่อไฟล์จึงควรมีทั้งชื่อผู้สมัครและตำแหน่งที่สมัครอยู่ด้วยกัน  เช่น  “เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ – นางสาวหางาน  ไม่เคยพลาด”  การตั้งชื่อไฟล์แบบนี้นอกจากอำนวยความสะดวกให้กับบริษัทแล้ว  ตัวคุณเองก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน  หากไฟล์นี้ตกหล่นไปอยู่ที่ใด  จะสามารถเรียกมาเก็บไว้ในโฟลเดอร์ตำแหน่ง  “เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์” ได้....ไม่มีพลาดสมนามสกุลแน่นอน

ไฟล์จดหมายนำและ Resume ที่แนบ ควรอยู่ในรูปเอกสาร Microsoft  Word ซึ่งเป็นโปรแกรมสากลที่ทุกบริษัทใช้กัน  เอื้อสำหรับการเปิดอ่านและพิมพ์มากที่สุด  ใน Resume ควรมีรูปถ่ายอยู่ด้วย  เพื่อประโยชน์สำหรับการพิจารณาในบางตำแหน่ง  แค่แสกน  วางลงใน  Resume ไม่จำเป็นต้องแนบไปอีกไฟล์
ถ้าไม่มีจดหมายนำ  คุณต้องแจ้งตำแหน่งที่สมัครไว้ใน Resume หลายคนพลาดตรงจุดนี้  ส่งมาแค่  Resume  อย่างเดียว  โดยไม่ระบุตำแหน่งที่ต้องการสมัคร  หากคุณจบในสาขาที่ก้ำกึ่ง  เจ้าหน้าที่เองก็ไม่สามารถตัดสินใจแทนคุณได้  ไม่รู้จะเก็บไว้ในโฟลเดอร์ชื่ออะไร  อยากช่วยใจจะขาด  แต่เดาใจไม่ถูกจริงๆ........

3. สมัครผ่านเว็บไซต์ของบริษัท
ทุกวันนี้  มีหลายบริษัทใช้ช่องทางนี้กันมากขึ้น  เช่น  เทเลคอมเอเชีย  แลนด์แอนด์เฮาส์  ซีเมนต์  7-Eleven  จากเมื่อก่อน  มีแค่ประกาศตำแหน่งงานว่าง  แจ้งให้ผู้สมัครทราบในเว็บไซต์เท่านั้น  หากสนใจต้องส่งไปสมัครไปทางไปรษณีย์หรือทางอีเมล์
ในปัจจุบันแต่ละบริษัทเริ่มมีฐานข้อมูลของผู้สมัครงานเก็บไว้ในเว็บไซต์ของ ของตัวเองมากขึ้น  โดยมีช่องให้ผู้สมัครคีย์ข้อมูลส่วนตัวเข้าไปเหมือนกับการสร้าง Resume ในเว็บไซต์หางานทั่วไป ทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ จนเสร็จสิ้น  ข้อมูลของคุณจะถูกส่งไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของบริษัทโดยตรง  เพื่อรอการพิจารณาต่อไป
ส่วนใหญ่ผู้สมัครด้วยวิธีนี้ทราบข่าวประกาศรับสมัครงานของบริษัทนั้นๆ มาก่อน จากช่องทางใดก็แล้วแต่  เมื่อสนใจจึงต้องการเข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวบริษัท  ทั้งประวัติ  ผู้บริหาร  โครงสร้างขององค์กร  รูปแบบธุรกิจ  สินค้าและบริการ  รวมทั้งผลประกอบการเพื่อเป็นข้อมูล แล้วบังเอิญได้พบว่ามีการสมัครผ่านเว็บไซต์จึงตัดสินใจสมัคร
การสมัครด้วยวิธีนี้  มีข้อดีที่คุณสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัททุกแง่ทุกมุมได้ก่อนการ ตัดสินใจสมัคร  เป็นสิ่งดีที่คุณจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในการสัมภาษณ์งาน  กรณีที่คุณได้รับเลือกให้เข้ารับการสัมภาษณ์  แต่ฉันมักได้ยินคนบางคนบ่นไม่ชอบการสมัครงานแบบนี้เท่าไหร่  เพราะต้องคีย์ข้อมูลใหม่ทุกครั้งเมื่อต้องการสมัครกับแต่ละบริษัท  อยากสมัคร 10 บริษัท  ก็ต้องคีย์ข้อมูลใหม่ซ้ำๆ น่าเบื่อถึง 10 ครั้ง  แถมบางทีคีย์ข้อมูลเข้าไปเกือบเรียบร้อยแล้ว  ระบบเกิดมีปัญหาดื้อๆ  ซะอย่างนั้น  จะคีย์ใหม่ก็ขี้เกียจ  เลยกลับไปคลิกไปส่ง  Resume  ในเว็บไซต์สมัครงานแบบเดิมดีกว่า  ง่ายดี  ไม่เสียเวลา  ได้ครั้งละหลายๆ บริษัท  ข้อเสียอีกอย่างที่รู้มา.....บางบริษัทมักไม่อัพเดทส่วนนี้เลย  ประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว  ปีนี้ก็ยังไม่เปลี่ยน  ทำให้ผู้สมัครไม่รู้ว่า  ตำแหน่งที่บอกว่าว่างนั้นปัจจุบันยังว่างอยู่หรือเปล่า?
แล้วแต่ค่ะ  ว่าคุณชอบ  สะดวก  และถนัดแบบไหนเมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนามาให้เราได้ใช้เพื่อความสะดวกและรวด เร็วในการส่งข้อมูลในชีวิตประจำวันก็น่าลองใช้ดูนะ  ถ้ามันจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง  ที่ช่วยให้การสมัครงานของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิม  แถมมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย
ที่ผ่านมาคือช่องทางทั้งหมดที่คุณสามารถสมัครงานได้  ข้อดี-ข้อด้อย  และรายละเอียดปลีกย่อยก็แตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับคุณแล้วละว่า....จะถนัดและคิดว่าช่องทางไหนเหมาะกับตัวคุณ  ไม่แนะนำให้เลือกเพียงช่องทางเดียว  เพราะว่าจะเสียโอกาสนำเสนอความสามารถของตัวเองให้กับนายจ้างในอนาคตของคุณไป

เมื่อการโฆษณาสินค้าในปัจจุบันได้พัฒนาไปถึงการใช้สื่อแบบบูรณาการ  หรือการใช้สื่อแบบครบวงจร  ทำให้การโฆษณานั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นแล้ว คุณเองก็เหมือนกัน  ถ้าต้องการให้ใบสมัครของคุณเข้าถึงกลุ่ม (นายจ้าง)  เป้าหมายมากที่สุด  ช่องทางสมัครงานแบบบูรณาการ....ก็น่าจะช่วยคุณได้ไม่น้อย

**************************************

“สมุดบันทึกการสมัครงาน”  คัมภีร์ประจำตัว.....

เมื่อคุณได้ลงสนามหางานจริง และเลือกใช้ช่องทางต่างๆ เพื่อสมัครงานตามที่ต้องการแล้ว  สิ่งที่ขอแนะนำอีกอย่างให้คุณมีไว้คือ  สมุดบันทึกการสมัครงาน  ถ้าคุณไม่มีสมุดเปล่า  อาจต้องหาซื้อมาสักเล่ม  ไม่ต้องใหญ่หรือหนามาก  เพราะคุณคงไม่ใช้เวลาในการหางานมากนักหรอก  (ถ้าคุณอ่านหนังสือเล่มนี้จบ)

“สมุดบันทึกการสมัครงาน”  เป็นเหมือนคัมภีร์ที่ติดตัวคุณไปทุกที่ที่เกี่ยวข้องกับการสมัครงาน  ข้อมูลหลักๆ ในนั้นคือ

- ตารางการสมัครงาน  : ตำแหน่งงาน  บริษัท  ช่องทาง  และวันที่คุณสมัคร
- ตารางการนัดสัมภาษณ์งาน  :  ตำแหน่งงาน  บริษัท  เวลานัดหมาย  สถานที่  ชื่อผู้ติดต่อ  หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ  และวันที่คุณได้รับการนัดหมาย
- ตารางการสัมภาษณ์งาน  :  ตำแหน่งงาน  บริษัท  เวลานัดหมาย  สถานที่  ชื่อผู้ติดต่อกลับ  เงินเดือนที่ต่อรองไว้  และวันเวลาที่คุณไปสัมภาษณ์งาน
- รายชื่อ  ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์  E-mail  Address  ของบริษัทที่คุณสนใจสมัครงาน  แต่ยังไม่ได้สมัคร
- ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ เกี่ยวกับการสมัครงานที่คุณได้รับทราบมา  ไม่ว่าจาก Campus  Visit  คู่มือการหางาน  อินเทอร์เน็ต  หรือบุคคลอื่นๆ  เขียนไว้เป็นหมวดหมู่  เปิดหาง่ายเมื่อต้องการใช้
คัมภีร์เล่มนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครงานของคุณไว้หมด คุณสมบัติคงไม่ยิ่งหย่อนกว่า  Smart  Card  มากนัก......อยากใช้ข้อมูลอะไร  มันจะเรียงหน้าสลอนออกมาให้คุณเห็น  คุณจะรู้ว่าได้สมัครงานที่ไหนไว้บ้าง  เมื่อถูกเรียกสัมภาษณ์  จะได้ไม่งงและสับสนว่าบริษัทไหน  ตำแหน่งอะไร  เมื่อไหร่  เชื่อเถอะ  ถึงเวลานั้นคุณสมัครไปแล้วไม่น้อยกว่า 20 บริษัท แน่นอน  ซึ่งถ้าไม่ได้จดไว้  รับรองไก่ตาแตกเป็นอย่างไร  วันนั้นคุณจะได้รู้จักเสียที.....
“สมุดบันทึกการสมัครงาน”  ควรเก็บไว้ในแฟ้มเดียวกับหลักฐานประกอบอื่นๆ  ที่คุณต้องนำติดตัวเสมอเมื่อไปสมัครงาน
สรุปแล้วในแฟ้มมหัศจรรย์นี้ต้องมี  หลักฐานประกอบการสมัครงานที่ถ่ายเอกสารไว้คลิปรวมเป็นชุด  ใบสมัครงานต้นแบบ  รูปถ่าย  เครื่องเขียน  และพระเอกของเรา  “สมุดบันทึกการสมัครงาน”  เช็คดูให้แน่ใจว่า  ทุกอย่างในแฟ้มอยู่ครบก่อนออกปฏิบัติการ  แฟ้มนี้ไม่ใช่กระเป๋าโดเรมอนที่โนบิตะอย่างคุณจะนั่งไทม์แมชีนกลับไปหยิบของ ที่ลืมได้ง่ายๆ

เมื่อพร้อมอย่างนี้แล้ว  คุณจะรู้สึกอุ่นใจ  มั่นใจมากขึ้นทุกครั้งที่ต้องออกลุยภาคสนาม ในขณะที่โอกาส “พลาด” ของคุณกลับน้อยลง   ข้อมูลอ้างอิงจาก
[Image] กลยุทธ์เด็ด คว้างานดี ชีวิตนี้ไม่มีเตะฝุ่น โดย ปนัฎดา สังข์แก้ว
[Image] http://www.tlcthai.com
ที่มา http://www.jobnorththailand.com/learndetail.php?le_id=000021

หลักฐานการสมัครงาน


หลักฐานการสมัครงาน....
หลักฐานในการสมัครงานเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างยิ่งใน การสมัครงาน ซึ่งเอกสาร ที่คุณควรจัดเตรียมไว้... หลักฐานในการสมัครงานเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างยิ่งใน การสมัครงาน ซึ่งเอกสาร ที่คุณควรจัดเตรียมไว้มีดังนี้
1. ประวัติส่วนตัว ประวัตย่อ (Resume)
2. รูปถ่าย ควรเป็นรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว โดยเป็นรูปสีหรือขาวดำก็ได้ แต่ขอให้เป็น การแต่งกาย ที่สุภาพ
3. สำเนาใบรับรองการศึกษา ได้แก่ Transcipt และสำเนา ใบปริญญาบัตร
4. สำเนาบัตรประชาชน
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาหลักฐานการพ้นภาระทางการทหาร
7. สำเนาหนังสือรับรองการผ่านงานหรือการฝึกงาน (ถ้ามี)
ปล. เอกสารเหล่านี้ควรเตรียมถ่ายสำเนาไว้หลายๆ ชุด และที่สำคัญอย่าลืม เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
อ้างอิง : สำนักงานจัดหางาน จังหวัดเชียงใหม่
ที่มา http://www.lionjob.com/Article-JobtipDetail.php?CID=995&ALL=ALL&adodb_next_page=5

3 ปัจจัย ให้ได้งาน เมื่อเรียนจบ

สมัครงาน


          ช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมานี้ เราคงจะรู้สึกว่ารถมันติดมากผิดปกติ สาเหตุหนึ่งก็มาจากเรามี บัณฑิตจบใหม่เข้ารับปริญญาบัตรกันแทบทุกสถาบันต่อเนื่องหลายวัน เป็นเรื่องน่ายินดีที่ประเทศไทยจะได้คนรุ่นใหม่มาเป็นกำลังช่วยพัฒนาบ้าน เมืองเพิ่มขึ้น ซึ่งในความน่ายินดีนี้คุณรู้ไหมว่าปีหนึ่งๆ มีเด็กจบออกมากว่าสองแสนคนแต่จะมีคนที่ได้งานทำทันทีประมาณห้าหมื่นคน นั่นเท่ากับทุกสี่คนจะมีคนต้องรองานถึงสามคนถ้าเราเป็นเด็กจบใหม่เราอยากให้ ตัวเองเป็นหนึ่งคนที่ได้งานหรืออยู่ในสามคนที่ไม่ได้งานทันทีที่จบ ฉบับนี้เราขอเสนอ 3 ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เราได้งานมากขึ้น พูดอีกแบบคือถ้าใครมี 3 ปัจจัยนี้แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นแต้มต่อข้อได้เปรียบในการหางานนั่นเองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Internship

          นัก ศึกษาทุกคนต้องผ่านวิชาการฝึกงานมาแล้วทั้งนั้น แล้วถามว่ามันจะสร้างความได้เปรียบได้ยังไงในเมื่อทุกคนก็เคยฝึกงาน ขอบอกว่าต่างมากเลยล่ะ เพราะอะไร ก็เพราะว่าการฝึกงานก็เสมือนการที่เราได้มีโอกาสแสดงฝีมือให้รุ่นพี่มือ อาชีพเขาได้เห็นกับตาตัวเอง ใครทำงานได้ดีแค่ไหน ใครเก่ง ใครขยัน ใครอดทน ใครสู้งาน ใครเป็นยังไงพี่ๆ เขาดูออกได้ไม่ยาก ซึ่งจะทำให้เขาเล็งเห็นถึงความสามารถในตัวเราถ้าเราทำให้เขาประทับใจได้ใน ขณะที่ฝึกงาน เมื่อใดที่เราเรียนจบ ก็เหมือนคนเคยรู้จักกันมาก่อน เคยเห็นฝีไม้ลายมือกันมาบ้างแล้ว สิ่งนี้ก็จะกลายมาเป็นแต้มต่อให้เขาเลือกเราเข้าทำงานจริงได้ ถ้าเด็กคนไหนรู้จักใช้การฝึกงานเป็นเวทีโชว์ฝีมืออย่างเต็มที่ เมื่อฝึกงานเสร็จ คุณอาจจะได้ยิน คำพูดทำนองว่า "น้องเรียนจบเมื่อไหร่ก็กลับมาหาพี่อีกทีนะ" และนี่ก็คือแต้มต่อที่คุณมีมากกว่าเด็กคนอื่นแล้วนั่นเอง

Network

          เรา เรียกมันว่า สายสัมพันธ์ สิ่งนี้ก็สำคัญมันเกิดขึ้นได้จากการสร้างและสะสม ซึ่งมีอยู่สองวิธีคือ คุณสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง เช่น การขอเข้าไปฝึกงานอย่างที่บอกไปข้อแรก คุณก็จะได้พาตัวเองไปเจอกับพี่ๆ ในบริษัทนั้นๆ ซึ่งถือเป็นประตูบานแรกสุดที่จะทำให้คุณได้รู้จักคนมากขึ้น วิธีที่สองก็คือเมื่อคุณเข้าไปฝึกงานหรือทำงานที่ไหนสักแห่ง คุณก็ต้องพบเจอกับคนนอกบริษัทที่อยู่ในสายธุรกิจในวงการเดียวกันด้วยแน่นอน อาจจะมาจากการที่พี่เขาให้คุณช่วยติดต่อประสานงานกับคนนอกบริษัทหรือการที่ คนภายนอกเข้ามาติดต่อทำงานร่วมกับบริษัทที่คุณฝึกงานอยู่ ถ้าคุณฉลาดพอที่จะทำความรู้จักเก็บเกี่ยวและสะสมคนรู้จักไปเรื่อยๆ คุณก็จะมีพี่ๆ ที่สามารถพูดคุยปรึกษาเรื่องการทำงานได้มากขึ้น ยิ่งคุณรู้จักคนมากเท่าไหร่ โอกาสในการมีงานทำก็มากขึ้นเท่านั้น ถ้าคนในบริษัทที่เราไปฝึกงานเขาไม่ถูกใจเรา ก็อาจจะมีคนอื่นนอกบริษัทที่เขาสนใจในตัวคุณก็ได้ การรู้จักคนมากๆ ยังไงก็ได้เปรียบ ลองคิดดูว่ามีคนรู้จัก 10 คนกับมี 100 คน ลู่ทางไหนจะมากกว่ากัน

Passion

          อยาก จะบอกว่าเรื่องนี้สำคัญที่สุดก็ว่าได้ เพราะถ้าคุณมีแรงปรารถนาในสิ่งที่คุณทำมากๆ รัศมีความสนใจใฝ่รู้มันจะแผ่ขยายออกไปรอบๆ ตัวคุณจนคนอื่นเขารับรู้ได้เอง เวลาคุณไปทำงาน พี่ๆ เขาก็จะรู้สึกว่าน้องคนนี้มีความกระตือรือร้น เวลาสัมภาษณ์งานพี่เขาก็มองเห็นแววตาที่เปร่งประกายบ่งบอกให้เห็นความอยากทำ งานด้วยความจริงใจ ใครมีความปรารถนาแรงกล้ามาก ก็จะได้เปรียบเด็กคนอื่นที่ไม่รู้ว่าอยากทำอะไร ไปฝึกงานก็ทำไปงั้นๆ ไม่สนใจไม่ขวนขวายมาทำ แค่ขอผ่านวิชานี้เท่านั้น เวลาสัมภาษณ์งานก็ไม่มีอะไรแสดงให้พี่เขาเห็นว่าน้องมีความทะยานอยากได้งาน นี้จริงๆ พี่เขาก็ไปเลือกคนอื่นดีกว่า สุดท้ายขนาดตัวเราเองยังไม่มีความสนใจ แล้วใครจะมาสนใจในตัวเราได้ล่ะ

          ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ ถ้าเด็กคนไหนเริ่มตั้งแต่ตอนเรียนตอนฝึกงานทำงานอย่างเต็มที่ แสดงฝีมือให้เป็นที่ประทับใจของพี่ๆ ในวงการ จนเรียนจบสมัครงานและได้สัมภาษณ์งานจริง การได้งานก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากของชีวิต เพราะชีวิตมีอะไรยากๆ รอเราอยู่ในการทำงานจริงอีกเยอะ

          ขอให้น้องบัณฑิตจบใหม่ทุกคนโชคดี...

ข้อมูลจาก
 
 ที่มา http://hilight.kapook.com/view/25478

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Job Interview Guide - สัมภาษณ์อย่างไรให้ได้งาน - แต่งกายอย่างไรในวันสัมภาษณ์

สัทภาษณ์อย่างไรให้ได้งาน - แต่งตัว
ทุกคนคงทราบกันดีแล้ว ในวันสัมภาษณ์นั้นเราควรจะแต่งกายให้สุภาพ ถูกกาลเทสะ เพื่อเป็นการให้เกียรติสถานที่และผู้สัมภาษณ์ โดยการแต่งกายนั้นนอกจากทำให้ดูดีแล้ว ยังสามารถบอกได้ด้วยว่าผู้สมัครคนนี้เหมาะกับงานหรือไม่ ซึ่งผู้สมัครควรคำนึงถึงงานที่เราสมัครด้วย เช่น หากเราต้องการสมัครงานอาชีพบริการ เราก็ควรจะแต่งกายให้ถูกระเบียบเรียบร้อยและดูเป็นมืออาชีพ แต่ถ้าเราต้องการสมัครงานด้านครีเอทีฟหรืองานโฆษณา เราก็ควรที่จะแต่งกายให้ดูคล่องแคล่ว และดูทันสมัยในเวลาเดียวกัน เป็นต้น

หลักการในการแต่งกายในวันสัมภาษณ์งาน แบ่งออกได้เป็น

ผู้หญิง

1. เสื้อผ้า
ควรสวมใส่เครื่องแต่งกายที่เป็นชุดแบบสองชิ้น นั่นก็คือ เสื้อ และ กางเกง หรือ กระโปรง เนื่องจากเป็นการแต่งกายที่ดูทะมัดทะแมงและถูกกาละเทสะมากกว่าการ สวมใส่เสื้อผ้าชิ้นเดียว เช่น ชุดแซ็ค

2. เสื้อสูท หาก สถานที่ที่เราไปสมัครนั้นเป็นองค์กรที่ใหญ่โตหรือโรงแรม เราก็ควรที่จะให้เกียรติกับสถานที่ โดยการใส่สูท เพื่อเป็นการให้เกียรติสถานที่ และนอกจากนั้นยังทำให้เราดูสง่าและดูดีอีกด้วย โดยสีเสื้อสูทหรือแจ๊คเก๊ตนั้น แนะนำให้ใส่สี ดำ เทา ครีม เบจ หรือสีอื่นๆที่ตัดหรือเข้ากับเสื้อเชิ๊ตด้านใน

3. รองเท้า แนะ นำให้ใส่รองเท้าคัชชู หรือ รองเท้าที่ปกปิดนิ้วเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าเปลือยส้น (รองเท้าที่ไม่มีสายรัดส้น) รองเท้าแฟชั่น หรือ รองเท้าที่มีส้นสูงจนเกินไป

4. กระเป๋า ควรเลือกใช้กระเป๋าที่ดูเรียบ ไม่ใหญ่เทอะทะ โดยไม่ควรใช้กระเป๋าแฟชั่น หรือ กระเป๋าที่มีลวดลายและสีสันต่างๆ

5. เครื่องประดับ ควรเลือกเครื่องประดับที่ไม่ใหญ่เทอะทะ หรือ มีสีสันต่างๆ และหากเป็นงานทางด้านบริการ แนะนำให้ใส่ ต้มหูเล็กๆ หรือ ต้มหูมุก และไม่ควรสวมใส่สร้อยคอ หรือกำไลข้อมือ

ผู้ชาย

1. เสื้อผ้า
ควรแต่งกายให้ดูภูมิฐาน โดยการใส่เสื้อเชิ๊ตพร้อมผูกเนคไท และ กางเกงสแลค และควรใส่เข็มขัดสีดำ ไม่มีลวดลาย

2. เสื้อสูท หลาย คนคงไม่ชื่นชอบการใส่สูทเท่าไรนัก ทั้งที่จริงๆแล้วการสมัครงานทุกครั้งเราควรที่จะใส่สูททุกครั้ง (ยกเว้นการสมัครงานที่ต้องใช้ความคล่องตัวต่างๆ) เนื่องจากการสัมภาษณ์งานนั้นเป็นการพบปะครั้งแรกระหว่างตัวแทนผู้ว่าจ้างกับ ผู้สมัคร ดังนั้นเราจึงควรที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้

3. รองเท้า ควรใส่รองเท้าหนังสีดำ รูปทรงมาตรฐาน ไม่ใส่รองเท้าหัวแหลมหรือรูปทรงแฟชั่นต่างๆ และควรขัดรองเท้าให้เงา

4. กระเป่า เป็น อีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างความภูมิฐานให้กับเราเป็นอย่างมาก โดยกระเป๋าควรเป็นกระเป๋าหนังสีดำ น้ำตาล หรือ สีใกล้เคียงอื่นๆ โดยเราอาจจะใช้กระเป๋าใส่เอกสารเล็กๆที่ดูทะมัดทะแมงก็ได้

5. เครื่องประดับ สำหรับผู้ชาย ไม่ควรที่จะสวมใส่เครื่องประดับใดๆทั้งสิ้น เช่น กำไลข้อมือ สร้อยคอ และอื่นๆ สิ่งเดียวที่ควรมี ก็คือ นาฬิกา

ที่มา:http://www.bkkresume.com

8 ข้อผิดพลาดในการสัมภาษณ์งาน


สัมภาษณ์ งาน
          ผู้ หางานบางคนตระเวนไปสัมภาษณ์งานตามบริษัทต่างๆ กว่า 30 บริษัท แต่ไม่มีแม้บริษัทเดียวที่รับเขาเข้าทำงาน เขาไม่ดีตรงไหน เขาทำอะไรผิดพลาดไปอย่างนั้นหรือง
          บาง ทีเขาอาจไม่เคยรู้ตัวเลยว่า ได้ทำสิ่งต้องห้ามในการสัมภาษณ์งานลงไป และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมเขาจึงหางานทำไม่ได้เสียที ต่อไปนี้คือข้อผิดพลาดที่ต้องหลีกเลี่ยง

  1. ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
  2.           ไม่ ว่าคุณจะรู้สึกกลัว กังวล โกรธ หรือเคอะเขิน คุณต้องกำจัดหรืออย่างน้อยควรควบคุมอารมณ์เหล่านี้ให้ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้บั่นทอนความมั่นใจของคุณ
  3. ไม่เตรียมข้อมูลก่อนมาสัมภาษณ์
  4.           ก่อน การสัมภาษณ์สิ่งที่คุณควรทำคือหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและผู้สัมภาษณ์ให้มาก ที่สุด เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีความสนใจและตั้งใจจริงที่จะร่วมงานกับบริษัท แต่ถ้าคุณไม่รู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทที่คุณมาสมัครงานเลย คุณจะเอาชนะคนอื่นๆ ที่เตรียมหาข้อมูลมาอย่างดีได้อย่างไร
  5. สนใจแต่ความต้องการของตนเอง
  6.           ผู้ หางานหลายคนสนใจเพียงว่าตนจะได้รับอะไรจากบริษัทบ้าง อย่างนี้ผู้สัมภาษณ์คงไม่ชอบใจนัก เพราะเขากำลังมองหาคนที่จะมาทำประโยชน์ให้แก่บริษัท ถ้านึกถึงแต่ตัวเองจะช่วยขับเคลื่อนบริษัทได้อย่างไร ดังนั้นคุณควรสนใจกับสิ่งที่นายจ้างต้องการ และแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถแก้ปัญหาให้กับเขาได้อย่างไร
  7. ไม่รู้จักการนำเสนอตนเอง
  8.           การ สัมภาษณ์งานเป็นโอกาสที่คุณจะนำเสนอตนเองให้ผู้สัมภาษณ์ได้รับรู้ว่า คุณเป็นคนอย่างไร มีความคิดความอ่าน ความสามารถในระดับใด อย่ารอให้ถูกถาม หรือปล่อยให้ผู้สัมภาษณ์เดาเอาเองว่าคุณสามารถรับผิดชอบงานต่างๆ ได้ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาเดาถูก บางทีเขาอาจจะเดาผิดก็ได้
  9. ทักษะและประสบการณ์ไม่ตรงตามความต้องการของบริษัท
  10.           จาก ประวัติย่อของคุณ คุณอาจไม่ได้ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งที่คุณสมัครเสียทีเดียว คุณจึงควรเชื่อมโยงทักษะและประสบการณ์ของคุณให้เข้ากับสิ่งที่นายจ้างต้อง การ และทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นอย่างชัดเจนว่าคุณคือคนที่เหมาะสม
  11. พูดถึงอดีตนายจ้างหรือเพื่อนร่วมงานในแง่ลบ
  12.           แม้ ว่าคุณจะรู้สึกไม่ดีกับอดีตนายจ้าง คุณก็ไม่ควรพูดถึงเขาในแง่ลบ เพราะผู้สัมภาษณ์คงไม่อาจมั่นใจได้ว่า หากเขารับคุณเข้าทำงาน คุณจะไม่เอาเขาไปนินทาให้คนอื่นฟังเหมือนกัน
  13. ยกตัวอย่างสมมติ
  14.           เมื่อ ผู้สัมภาษณ์ถามคุณเกี่ยวกับทักษะ ความสามารถ ความรับผิดชอบ หรือความสำเร็จ การยกตัวอย่างสมมติได้ผลน้อยกว่าการที่คุณสามารถยกตัวอย่างจากเหตุการณ์จริง ที่คุณสามารถแก้ปัญหาได้จริงเมื่ออยู่ที่บริษัทเก่า
  15. พูดเรื่องเงินเดือนก่อนที่เรื่องหน้าที่รับผิดชอบ
  16.           ถ้า คุณยังไม่รู้ว่า คุณมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง คุณจะพูดเรื่องเงินเดือนได้อย่างไร เก็บเรื่องเงินเดือนไว้เป็นประเด็นสุดท้ายเมื่อคุณชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบ ของคุณ และเมื่อผู้สัมภาษณ์ตกลงรับคุณเข้าทำงานแล้ว           ลอง สำรวจตัวเองว่าเคยทำผิดพลาดในเรื่องใดใน 8 ข้อข้างต้นบ้างหรือไม่ แล้วหาทางปรับปรุง เพื่อการสัมภาษณ์งานที่สมบูรณ์แบบในครั้งต่อไป
     ที่มา:  http://th.jobsdb.com/TH/TH/Resources/JobSeekerArticle/July08_01.htm?ID=1292

รายการบล็อกของฉัน