หวย หวยออนไลน์ Jetsadabet

บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีเจรจาต่อรองเงินเดือน

คุณแช่มช้อย เลขาฯ มือทองจากบริษัท ก. ต้องการเปลี่ยนงานจึงตัดสินใจไปสมัครงานกับบริษัท ฮ. ด้วยประสบการณ์ทำงานกว่า 5 ปี การสัมภาษณ์งานดำเนินไปด้วยดีจนถึงขั้นตอนการเจรจาต่อรองเงินเดือน ทางบริษัทแจ้งคุณแช่มช้อยว่า จะให้เงินเดือนคุณแช่มช้อย 18,000 บาท ความรู้สึกไม่เห็นด้วยก็บังเกิดขึ้นมาภายในใจของคุณแช่มช้อยทันที เธอคิดว่าเธอควรจะได้เงินเดือนสัก 20,000-25,000 บาท แต่ด้วยความที่คุณแช่มช้อยเป็นคนเรียบร้อย พูดน้อย แช่มช้อยสมชื่อจึงได้แต่ เอ่อ...อ่า... ไม่กล้าพูดออกไป และลงท้ายด้วยคำว่า “ได้ค่ะ”           เป็นอันว่า บริษัท ฮ. ตกลงรับคุณแช่มช้อยเข้าทำงานด้วยเงินเดือน 18,000 บาท ถ้าคุณเป็นคุณแช่มช้อย คุณจะทำอย่างไร???
          ถ้า คุณต้องการเรียกเงินเดือนที่มากขึ้น คุณต้องทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่า คุณสมควรที่จะได้รับเงินเดือนตามที่คุณคาดหวัง ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรจะทำ้

  1. รู้ว่าตัวคุณมีค่าแค่ไหน
  2.           การ มีข้อมูลที่ดี จะช่วยให้การเจรจาทำได้ง่ายขึ้น หากคุณรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงจุดไหนเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ในสาขาเดียวกับคุณ โดยคุณอาจจะไถ่ถามจากเพื่อนหรือครอบครัวของคุณที่ทำงานในสาขาเดียวกับคุณ หรือในระดับเดียวกับคุณ เพื่อประเมินว่าระดับเงินเดือนที่คุณควรจะได้รับควรเป็นเท่าไร           เมื่อข้อมูลพร้อมแล้ว คุณอาจพูดต่อรองดังนี้           “จาก ข้อมูลที่ดิฉันได้จาก การสำรวจระดับเงินเดือนของเลขานุการที่มีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี อัตราเงินเดือนจะอยู่ที่ 20,000- 25,000 บาท ดิฉันรู้สึกว่าเงินเดือน 18,000 บาทที่คุณเสนอมานั้นค่อนข้างต่ำ ด้วยประสบการณ์และความสำเร็จต่างๆ ของดิฉัน ดิฉันคิดว่า เงินเดือน 23,000 บาทซึ่งอยู่ช่วงตรงกลางน่าจะเหมาะสมมากกว่าค่ะ”
  3. คิดให้มากกว่าเรื่องเงินเดือน
  4.           หาก คิดในทางกลับกัน บริษัทอาจไม่ได้ต้องการเอาเปรียบคุณด้วยการกดเงินเดือนแต่อย่างใด จริงๆ แล้วบริษัทอาจไม่เคยจ้างเลขานุการด้วยเงินเดือน 23,000 บาทเลยก็ได้ ดังนั้นอย่าเพิ่งปฏิเสธงานเพราะไม่ได้รับเงินเดือนตามที่คาดหวัง ถึงแม้เงินเดือนจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การได้งานทำสำคัญยิ่งกว่า           วาง เรื่องเงินเดือนเอาไว้ก่อน แล้วลองเจรจาเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดู เช่น โอกาสในการโยกย้ายสาขา ชุดพนักงานฟรี รถประจำตำแหน่ง วันหยุดพักผ่อนประจำปี โบนัสสิ้นปี สิทธิในการรักษาพยาบาล การทำฟัน การยืดหยุ่นในเรื่องชั่วโมงทำงานหรือวันทำงาน คอมพิวเตอร์ประจำตัว หรือโทรศัพท์ประจำตัว เป็นต้น           มาดูกันว่าคุณควรจะต่อรองอย่างไร           “ดิฉัน เข้าใจดีว่า คุณไม่สามารถให้เงินเดือนดิฉันได้มากกว่านี้ แต่ที่ทำงานเก่าของดิฉัน ให้วันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ดิฉันจะได้รับวันหยุดเพิ่มเป็นพิเศษ”
  5. เพียงคุณกล้าที่จะต่อรอง
  6.           ไม่ ต้องกลัวหรือรู้สึกไม่ดีที่ต้องเจรจาต่อรอง ผู้หางานหลายต่อหลายคนทำลายโอกาสของตนด้วยการไม่ยืนหยัดรักษาสิทธิ์ที่พึงจะ ได้           มีวิธีพูดอยู่ 2 วิธีให้คุณเลือก คุณคิดว่าพูดแบบไหนจึงจะได้ตามที่คุณต้องการ
    • “ฉันมีข้อสงสัย คือถ้าบางที คุณอาจจะพิจารณาค่าชดเชยที่ดิฉันต้องย้ายมาที่นี่ ฉันหมายถึง ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ฉันแค่หวังว่าบางทีคุณอาจจะให้เงินพิเศษกับดิฉันสักเล็กน้อย”
    • “การ ที่ดิฉันย้ายจากกาญจนบุรีเข้ากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ทำให้ดิฉันมีค่าใช้จ่ายในการโยกย้ายเกิดขึ้น ไม่ทราบว่าทางบริษัทมีนโยบายช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ”
              แน่ นอนว่าวิธีพูดแบบที่สอง แสดงถึงความมั่นใจที่มากกว่า ทำให้คุณมีภาษีดีกว่าคนที่กล้าๆ กลัวๆ จริงอยู่การเจราต่อรองเงินเดือนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยวิธีการพูดที่ดี จะทำให้คุณได้ในสิ่งที่คาดหวัง หรืออย่างน้อยก็ได้มากกว่าที่คุณไม่ต่อรองอะไรเลย           อย่าง ไรก็ดี ก่อนจะเจรจาต่อรองเงินเดือน ควรสอบถามเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า อัตราเงินเดือนที่คุณต้องการนั้น เหมาะสมกับหน้าที่ที่คุณต้องรับผิดชอบแล้วจริงๆ  ที่มา : http://th.jobsdb.com

เมื่อต้องเข้าห้องสัมภาษณ์งาน

หลังจากที่เราเตรียมตัว และเตรียมใจสำหรับการสัมภาษณ์งานแล้ว แต่ไม่รู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรดี เพราะบางคนยังไม่เคยมีประสบการณ์การสัมภาษณ์งานมาก่อน ซึ่งอาการตื่นเต้น กลัว และประหม่านั้น อาจทำให้คุณเสียงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำก่อนการสัมภาษณ์งาน คือ เตรียมนึกคำถามที่ผู้สัมภาษณ์น่าจะถาม และคำตอบเอาไว้ก่อนล่วงหน้า เพราะเมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์จริงๆ เราจะได้ไม่ประหม่า แต่ถ้าอาการตื่นเต้น ประหม่าของคุณยังไม่หมดไป แนะนำให้ทำสมาธิ และ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆ ปล่อยออก จะช่วยให้อาการประหม่าลดลงได้ในระดับหนึ่ง เพียงแค่นี้คุณก็ไม่คว้าน้ำเหลวในการสัมภาษณ์งานครั้งนี้อย่างแน่นอน
ลักษณะของการสัมภาษณ์งาน แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

แบบที่หนึ่ง

คือ แบบ “1 ต่อ 1” โดยมีผู้สัมภาษณ์ 1 คน และคุณอีก 1 คน โดยส่วนมากแบบนี้ จะเจอและพบเห็นได้ทั่วไป ความน่ากลัวไม่มากสักเท่าไหร่ คุณสามารถเป็นฝ่ายควบคุมสถานการณ์ระหว่างการสัมภาษณ์ได้เองบ้างโดยการถามคำ ถามต่อผู้สัมภาษณ์ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณต้องการรู้ และสามารถจับทัศนคติของผู้สัมภาษณ์ได้อีกด้วย แต่ข้อเสียของแบบที่หนึ่งนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน คือ คนที่ตัดสินว่าคุณจะผ่านหรือไม่ผ่านการสัมภาษณ์งานในครั้งนี้มีเพียงคนเดียว ซึ่งหมายความว่า ถ้าเขาชอบคุณก็ดีไป แต่ถ้าเขาไม่ชอบ คุณก็หมดสิทธิ์ทันที

แบบที่สอง

คือ แบบ “2 ต่อ 1” หรือ “3 ต่อ 1” ผู้สัมภาษณ์สองคน หรือสามคนกับคุณคนเดียว ซึ่งแบบนี้จะเป็นแบบที่หลายๆ คนกลัวมาก มักใช้กับการสัมภาษณ์รอบหลังๆ แต่ก็มีหลายบริษัทที่ใช้แบบนี้ในการสัมภาษณ์รอบแรกเหมือนกัน เพื่อเป็นการป้องกันการตัดสินคนๆ หนึ่งจากมุมมองเดียว ซึ่งดูจะไม่ยุติธรรมเท่าไหร่ ถ้าความคิดเห็นของทั้งสามคนตรงกันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าความคิดเห็นไม่ตรงกันก็สามารถมานั่งถกกันก่อนการตัดสินใจได้ ดังนั้น จึงไม่อยากให้คุณกลัวกับการสัมภาษณ์แบบนี้ เพราะมันส่งผลดีต่อตัวคุณเองมากกว่าแบบแรกเสียอีก

แบบที่สาม

คือ แบบ “2 ต่อ กลุ่ม” หรือ “3 ต่อ กลุ่ม” คือ ผู้สัมภาษณ์สองคน หรือสามคนกับผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม มักใช้ในการสัมภาษณ์รอบแรก และเป็นตำแหน่งที่รับจำนวนมาก ดูเหมือนการสัมภาษณ์แบบนี้จะทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์อุ่นใจ เพราะมีเพื่อนร่วมชะตากรรมหลายคน แต่อย่าประมาท เพราะแบบนี้แหละที่คุณต้องแสดงความสามารถทั้งหมดในตัวคุณออกมา สร้างความโดดเด่นให้กับตัวคุณเอง ต่างจากแบบที่หนึ่ง และแบบที่สองคือ คุณแค่แสดงความเป็นตัวคุณเองออกมาแค่นั้น ไม่มีคนเปรียบเทียบ แต่แบบนี้คู่แข่งเพียบ ถ้าคุณไม่สามารถแสดงความสามารถที่โดดเด่นออกมาได้ก็อาจจะหมดหวัง แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะคำถามส่วนมากที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบนี้ มักเป็นคำถามที่ไม่ลงลึก เช่น ให้แนะนำตัวเอง บอกจุดเด่น จุดด้อยของตัวเอง ขอแค่คุณเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจเข้าไว้ พยายามระงับความประหม่าให้ได้ คิดไว้ว่า ทุกคนในกลุ่มนี้ก็ตื่นเต้นไม่น้อยไปกว่าเรา แล้วคุณจะควบคุมสถานการณ์นี้ไว้ได้
ลักษณะ การสัมภาษณ์งานทั้ง 3 แบบข้างต้นนั้น เป็นการสัมภาษณ์งานที่บริษัทส่วนใหญ่นิยมใช้ แต่ถ้าคุณไปเจอกับลักษณะการสัมภาษณ์แบบอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 3 แบบนี้ก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะมีบางบริษัทที่คิดรูปแบบการสัมภาษณ์ของตัวเองโดยเฉพาะเหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะเจอกับการสัมภาษณ์งานรูปแบบไหน สิ่งที่คุณควรจำไว้คือ ต้องเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด อย่าพยายามเปลี่ยนตัวเอง เพียงเพื่อให้เหมาะสมกับงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่ เพราะมันไม่คุ้มและไม่มีประโยชน์อะไรที่จะฝืนทำงานที่ไม่ใช่ หรือไม่เหมาะสมกับคุณเอง
ที่มา: http://th.jobsdb.com/

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

เตรียมทำการบ้านก่อนไปสัมภาษณ์งานหรือยัง

ในการสัมภาษณ์งานแต่ ละครั้ง ลองถามตัวคุณเองว่าคุณมีความรู้เกี่ยวกับบริษัทที่คุณจะไปสัมภาษณ์มาก-น้อย แค่ไหน คุณคงทำให้ใครเชื่อไม่ได้ว่าคุณอยากจะร่วมงานด้วย ถ้าคุณไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของบริษัทนั้นเลย ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่คุณจะไปสักนิด แล้วคุณจะรู้ว่าการบ้านที่คุณได้ทำไปนั้น มันทำให้คุณมีคุณค่าในสายตาของผู้สัมภาษณ์อย่างมากมาย
  1. บริษัทมี services หรือ product อะไรบ้าง
  2. Niche market ของบริษัทอยู่ตรงไหน
  3. ใครเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่
  4. ประวัติความเป็นมา
  5. ใครเป็นผู้บริหารสูงสุดขณะนี้
  6. วัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไรบ้าง
  7. บริษัทมีพนักงานประมาณกี่คน สัดส่วนคนไทย/ต่างชาติเท่าไหร่
  8. ผลประกอบการเป็นอย่างไร
  9.  บริษัทมีสำนักงานใหญ่ สาขาที่ใดบ้าง
ที่มา : http://th.jobsdb.com

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่างบทสนทนาสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ

การทักทาย (Greeting) ส่วนนี้เป็น part แรกในการสนทนา.
Q : Good morning / afternoon
A : Good morning / afternoon – sir / mam.
Q : How are you today?
How are you doing? ** ทั้งหมดความหมายเดียวกัน ว่า สบายดีไหม**
How do you do?

A : I’m fine / I’m good ..thanks and you?
Q : ก็แล้วแต่เค้าจะตอบ

การสัมภาษณ์ ( interview ) ส่วนนี้เป็นการเข้าเรื่องการสัมภาษณ์งาน
Q : Would you like to tell me about yourself? อยากให้เล่าเกี่ยวกับตัวเอง
A : I was born in …
I graduated from …. In …ปีที่จบ
Major ….
When I was student. I have experienced sum part time jobs as …. (ถ้ามี / ถ้าไม่มีข้ามไป)
On my free time. I like to surf net and ….(งานอดิเรก) เช่น reading, movies, แต่ควรจะเป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกะงานเอาไว้จะดีกว่า ....

Q : Would you like to tell me about your wok experiences? เล่าการทำงาน
A : After graduated in 2000 (สมมติ) I have got a first job at ….ชื่อบ.
Worked as … ตำแหน่งงาน
My responsibility are …. ทำอะไรบ้าง ....
Second job ….งานที่ 2 …
** ให้เล่าอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบตามประสบการณ์ของเรา **
คำถามเพิ่มเติม จากการเล่าประสบการณ์ของเรา Following questions
Q : Do you have a computer skill ? ทักษะคอม
Can you speak other language? พูดภาษาอื่นได้อีกไหม
Can you use internet? ใช้อินเตอร์เน็ต
Can you use office material? เครื่องใช้สำนักงานเป็นไหม
- Yes I can .
Do you stay alone in Bangkok? อยู่กรุงเทพคนเดียวเหรอ
- Yes / No, with friends,relatives
Do you have sister or brother? อันนี้โดนเองเลย .. ไม่รู้จะถามทำไม
- Yes,1 sister / No am the only one child.
** คำถามมีอีกมากมาย แต่เท่าที่พบด้วยตัวเองก็จะประมาณนี้ **
          หลังจากนั้นผู้สัมภาษณ์จะเล่าเกี่ยวกับบริษัทของเขา เช่น ลักษณะธุรกิจ เปิดมากี่ปีแล้ว บริษัทแม่อยู่ที่ไหน วัตถุประสงค์ อื่นๆ แล้วก็จะวกเข้ามาที่ตำแหน่งที่เราสมัครว่า ทำไมเขาจึงมีความต้องการรับคนเข้าทำงานในตำแหน่งนี้ ซึ่งคุณนายไม่สามารถเขียนบรรยายได้เพราะมันมากมาย ... เอาเป็นว่าเขาจะถามเราแล้วหล่ะว่า
Q : Do you have any questions?
Any questions?
About our business, do you have a questions?
ซึ่งถ้าเราไม่แน่จัย ก็ให้บอกว่า
A : No, I will have more question after I’ll see you again. ยังไม่มีตอนนี้ เอาไว้ร่วมงานกันแล้วมีแน่ๆ ประมาณนั้น
หรือถ้าเราเกิดสงสัยต่างๆ ก็ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับตัวงาน เพื่อให้เขารู้สึกว่า เราสนจัย
A : How many staffs are working in this section? มีพนักงานทำงานตำแหน่งนี้กี่คน

** ถ้าเราไม่มีคำถามแล้ว เขาอาจจะปิดการสัมภาษณ์ **
Q : Well,we will need to talk together then will give you feedback later.
We will call you later.
We will get back to you as soon as possible.
** อีกมากมาย **
A : Yes .. Thank you very much I will look forward to hear from you ขอบคุณ ฉันจะรอ .. ในที่นี่หมายถึง โทรศัพท์
Q : Sure .. thanks for coming แน่นอน .... ขอบคุณที่แวะมา
A : Thanks for your time and opportunity ขอบคุณที่ให้โอกาศและเสียสละเวลามาสัมภาษณ์

Q : Have a nice day … Goodbye / Goodluck
A : Thanks , same to you .. ถ้าเราไม่อยากพูดยาว หรือไม่ก็พูดเหมือนเขานั่นแหละ

          เอาหล่ะ .. คงจะได้ไอเดียกันบ้าง คุณนายไม่ได้ลอกที่ไหนมานะพยายามเขียนออกจากประสบการณ์( ที่นานมาแล้ว ) มาแบ่งปันกันเผื่อว่าจะได้เป็นแนวทางให้เพื่อนๆได้ลองศึกษาดูและนำไปใช้ใน แบบที่ตัวเองถนัด.. สำหรับการตั้งคำถามของผู้สัมภาษณ์ เท่าที่สัมผัสมา มันไม่น่าจะเกินนี้ ยิ่งถ้าเป็นคนไทยสัมภาษณ์หล่ะก็ จะเป็นอย่างนี้เลยแต่ถ้าเป็นฝรั่งก็อาจจะมีนอกเหนือแต่ก็ไม่ออกนอกโลกไปมาก มาย ถ้าเราไม่เข้าจัยในคำถามหรือฟังไม่ทัน เราสามารถบอกเขาได้เลยว่า
- Pardon me / excuse me can u repeat it again? ขอโทษนะ พูดอีกทีได้ไหม
- Sorry, I can’t catch it, can you speak slowly? ขอโทษนะฟังไม่ทัน พูดช้าๆหน่อยได้ไหม
- Sorry , think my Eng is not so good, can you speak again please? ขอโทษนะภาษาไม่ค่อยดีพูดอีกทีได้ไหม
          เขาไม่ตัดสินเราเพราะว่าเราให้พูดซ้ำอีกทีหรอกนะ แต่อย่าทำบ่อยไม่ดีๆ
ข้อมูลจาก  :  คุณนาย kah   www.jobbkk.com

รายการบล็อกของฉัน